วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพิ่มเงินพิเศษดึงคนเก่งเป็นครูบวกเพิ่ม1หมื่น/ด.-มอบคุรุสภาจัดสอบวิชาชีพ

เพิ่มเงินพิเศษดึงคนเก่งเป็นครูบวกเพิ่ม1หมื่น/ด.-มอบคุรุสภาจัดสอบวิชาชีพ

“ชินวรณ์" เดินหน้าปฏิรูปรอบสอง ดึงคนเก่งเรียนครู ให้ค่าตอบแทนพิเศษคนละ 10,000บาท/เดือน พร้อมมอบคุรุสภาหาแนวทางจัดสอบครูเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับ วิชาชีพอื่น เผยเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวข้อง 3 ฉบับเข้า ครม.เรียบร้อยแล้ว

นายชิณวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้ผลักดันนโยบายปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ในส่วนของการพัฒนาครู ได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบให้เสนอร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินวิทยฐานะ.... เพื่อบรรจุเป็นวาระเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จะเร่งดำเนินการภายในเดือนเมษายนนี้ และจะเร่งเดินหน้าเรื่องนี้ทันทีหลังจากร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านสภาฯ

“ผมยังมีนโยบายพัฒนาวิชาชีพครูโดยจะ จูงใจคนเก่งมาเรียนครู ร้อยละ 10 โดยจัดโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 5 ปี จำนวน 4,000 คน เริ่มปี 2553 -2556 เมื่อเรียนจบแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นผู้ช่วยครู 2 ปีจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษคนละ 10,000 บาทต่อเดือน เช่นเดียวกับแพทย์ รวมทั้งมอบให้ครุสภาหาแนวทางจัดสอบครู เพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพเหมือนกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิศวะ กฎหมาย และบัญชี ”

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้เสนอร่างกฎหมาย 3 ฉบับบรรจุเป็นวาระเสนอคณะรัฐมนตรีไปเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย 1.ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนพัฒนาวิชาชีพครู โดยกองทุนนี้จะมีคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆเข้ามาบริหาร จัดการ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องที่เป็นวิกฤตของครู เช่น การปฎิรูปการเรียนรู้เพื่อสอนให้เด็กคิดเป็น การให้ครูได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อพัฒนาให้ครูเป็นครูของศิษย์อย่างแท้จริง โดยจะเสนองบประมาณปี 2554 ของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 500 ล้านบาท 2. ร่างพระราชกฤษฎีกากองทุนเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) จะสนับสนุนงบประมาณ 500 ล้านบาท ทั้งนี้ เบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการ จะลงนามความร่วมมือกับ กทช. เพื่อขอนำงบฯ ส่วนหนึ่งมาใช้ดำเนินงานก่อน โดย ศธ.จะออกเป็นระเบียบรองรับ 3. ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยจะนำสื่อและเทคโนโลยีด้านการศึกษาของ ศธ.เช่น สถานีโทรทัศน์ เพื่อการศึกษา(อีทีวี) ของสำนักงานปลัด ศธ. อาร์เรดิโอ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และโครงการพัฒนาเครือข่ายยูนิเน็ต ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มารวมกันอยู่ในสถาบันฯนี้ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปลัด ศธ. เพื่อ สนับสนุนการดำเนินงานของ 5 องค์กรหลักศธ.ได้คล่องตัว โดยงบฯดำเนินการของสถาบันฯนี้ จะนำงบประมาณดำเนินการของแต่ละหน่วยงานมาใช้ดำเนินการ



ที่มา - ผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000036668

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้

1 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ

2 ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน

3 ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น

4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับ ความอยากจะเรียนรู้ และมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้ และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น

5 ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมและการดำเนินการจัดการกับข้อมูล (Information Processing Theory) ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

ส่วนแรกพูดถึง ความสามารถในการจำระยะสั้นของสมอง ซึ่งมีขีดจำกัด สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน (Chunking) ได้ประมาณ 7 ข้อมูล หรือ 5-9 คือ 7 บวกลบ 2 ข้อมูลก้อนนี้เป็นข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือคำพูด หรือตำแหน่งของตัวหมากรุก หรือใบหน้าคน เป็นต้น
ส่วนที่ 2 พูดถึง TOTE มาจาก Test-Operate-Test-Exit ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย มิลเลอร์ (Miller) และคณะ กล่าวว่า ต้องมีการประเมินว่า ได้มีการกระทำที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าหาก บอกว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ก็จะต้องมีการกระทำ หรือปฏิบัติการใหม่เพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา

6 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน

ชอว์ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ในรูปแบบของพัฒนาการ ของ สังคมและจิตวิทยา ว่าเป็นแนวคิด หรือ ความเข้าใจ ที่เป็น คอนสตรัคทิวิซึ่ม (Constructivism) คือ รูปแบบที่ผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ ไม่ใช่เป็น ผู้รับอย่างเดียว ดังนั้นผู้เรียน ก็คือ ผู้สอนนั่นเอง แต่ใน ระบบการศึกษาทุกวันนี้ รูปแบบโครงสร้าง จะตรงกันข้ามกับ ความคิดดังกล่าว โดยครูเป็น ผู้หยิบยื่นความรู้ให้ แล้วกำหนดให้ นักเรียนเป็นผู้รับความรู้นั้น

อย่างไรก็ตาม คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีแตกต่างจาก คอน-สตรัคทิวิซึ่ม ตรงที่ ทฤษฎีคอนสตรัคทิวิซึ่ม คือ ทฤษฎีที่กล่าวว่า ความรู้เกิดขึ้น สร้างขึ้นโดยผู้เรียน ไม่ใช่เป็นการให้จากผู้สอนหรือครู ในขณะที่ คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม มีความหมาย กว้างกว่านี้ คือ พัฒนาการของเด็ก ในการเรียนรู้ มีมากกว่า การกระทำ หรือ กิจกรรม เท่านั้น แต่รวมถึง ปฏิกิริยาระหว่างความรู้ ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อม ภายนอก หมายความว่า เด็กสามารถเก็บข้อมูล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก และเก็บเข้าไป สร้าง เป็นโครงสร้าง ของความรู้ภายใน สมองของตัวเอง ขณะเดียวกัน ก็สามารถเอา ความรู้ภายใน ที่เด็กมีอยู่แล้ว แสดงออกมา ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม ภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็น วงจรต่อไป เรื่อย ๆ คือ เด็กจะเรียนรู้เองจาก ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ กลับเข้าไปในสมอง ผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่ แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

ดังนั้น ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม จึงให้ความสำคัญ กับโอกาสและ วัสดุที่จะใช้ใน การเรียนการสอน ที่เด็กสามารถนำไป สร้างความรู้ ให้เกิดขึ้นภายใน ตัวเด็ก เองได้ ไม่ใช่ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจธรรมชาติ ของกระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้าง กระบวนการ เรียนรู้ นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้น ตามธรรมชาติของเด็ก แต่ละคน ครูควรคิดค้น พัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียน อย่างไรจึงจะให้ ผู้เรียนสามารถ สร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนา และสร้าง วัสดุอุปกรณ์ ประกอบการเรียน การสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่ จะใช้อุปกรณ์การเรียน การสอน ที่มีอยู่ให้เป็น ประโยชน์ด้วย วิธีการเรียนแบบใหม่ คือ การสร้างให้ผู้เรียน สร้างโครงสร้างของ ความรู้ขึ้นเอง

ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) และ ศาสตราจารย์ มิทเชล เรสนิก (Mitchel Resnick) มีความเห็นว่า ทฤษฎี คอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน

สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วย การสร้างความรู้ใหม่ ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูล ที่หลั่งไหลเข้ามา ในสมองของผู้เรียน เท่านั้น โดยความรู้ จะเกิดขึ้นจาก การแปลความหมาย ของประสบการณ์ที่ได้รับ

สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้น มีความหมายกับ ผู้เรียนคนนั้นมุ่งการสอน การป้อนความรู้ให้ คิดค้นแต่วิธีที่จะสอนอย่างไรจึงจะได้ผล ซึ่งไม่ใช่ วิธีที่เกิดประโยชน์กับเด็ก ครูต้องเข้าใจ ธรรมชาติ ของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เด็กกำลัง เรียนรู้อยู่ และช่วยเสริมสร้างกระบวนการ เรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่น ๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่า จะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้ ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ เราก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ ๆ หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์ การเรียนการสอน ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีการเรียนแบบใหม่ คือการสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้าง ของความรู้ขึ้นเอง มีความหมายกับผู้เรียนคนนั้นทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม บอกว่า การจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่า เรามีความเชื่อว่า ความรู้เกิดขึ้น ได้อย่างไร ถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้างความรู้ขึ้นเอง การให้การศึกษาก็จะต้อง ประกอบด้วย การดึงเอา ความรู้นี้ ออกมาจากเด็ก ด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือตอบคำถาม ที่จะใช้ความรู้นั้น และให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วม ในกิจกรรม ที่จะทำให้ เกิดกระบวนการสร้างความรู้ ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก การให้การศึกษา ก็จะต้อง ประกอบด้วย การให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็ก แสดงให้เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้อง ให้กับเด็ก วิธีนี้คือ การศึกษาในสมัยก่อนนั่นเอง




ที่มา
http://www.kroobannok.com/2171

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา

จิตวิทยาการเรียนรู้ภาษา


Piaget เชื่อว่าพัฒนาการของเด็กนั้นจะเกิดขึ้นตามลำดับขั้น จะไม่สามารถพัฒนาข้ามขั้นได้ เด็กจะสามารถพัฒนาสติปัญญา ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับโลกภายนอก ซึ่งกระบวนการสติปัญญาของบุคคลจะพัฒนาตามขั้นตอนต่อไปนี้ (อ้างใน กานต์ รัตนพันธ์. 2532 : 22 – 23)


ระยะที่หนึ่ง แรกเกิด จนถึง 2 ขวบ เด็กจะเรียนรู้โดยการสัมผัส
ระยะที่สอง อายุ 2 – 7 ขวบ เด็กเริ่มจัดกระทำกับสภาพแวดล้อม โดยใช้สัญลักษณ์ เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับวัตถุ รู้จักสิ่งที่เป็นตัวแทน รู้จักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น เริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจความหมาย ชอบลองผิดลองถูก สามารถแยกแยะสิ่งของได้ แต่ไม่สามารถบอกคุณสมบัติได้
ระยะที่ 3 อายุ 7 – 11 ขวบ เด็กมีการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
ระยะที่ 4 อายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่เด็กมีความเข้าใจ ทดลองใช้เหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น คาดคะเนเหตุการณ์จากประสบการณ์และความคิดเห็น

Piaget and Inhelde (อ้างใน ประภาพันธ์ นิลอรุณ. 2530 : 27) กล่าวไว้ว่า เด็กอายุ 2 – 4 ปี จะพัฒนาการเรียนรู้คำมากขึ้นตามลำดับ มีลักษณะการพูดคุยโดยใช้การสื่อสารแบบสังคม (Social Communication) แต่เด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง คือ เด็กจะพูดกับตนเอง ซึ่งเรียกว่า การพูดคนเดียวแบบรวมหมู่ (Collection Monologues) เด็กจะมีทัศนะต่าง ๆ จากการมองเห็นของตัวเอง และจะเป็นการยากที่จะให้เด็กยอมรับสิ่งต่าง ๆ จากภาพที่เห็น เด็กไม่เข้าใจคำพูดของผู้อื่น ในช่วง 5 – 6 ปี เด็กก้าวเข้าสู่ขั้นการคิดแบบหยั่งรู้ (Intuitive) ซึ่งเป็นการคิดโดยอาศัยการรับรู้ คือ การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วบอกว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร การหยั่งเห็นของเด็ก เด็กจะก้าวหน้าไปสู่การแยกแยะ เด็กเกือบจะไปถึงการรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล

พัฒนาพร สุทธิยานุช (อ้างใน ประภาพันธ์ นิลอรุณ. 2530 : 28 – 29) ได้กล่าวถึงพัฒนาการทางภาษาว่า มนุษย์มีขั้นตอนในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีพัฒนาการดังนี้

1. อายุแรกเกิด – 1 ปี เด็กเริ่มส่งเสียงร้อง การโต้ตอบ อาจมีหรือไม่มีความหมายก็ได้ เริ่มเรียนคำง่ายใกล้ตัว เช่น พ่อ แม่ บางครั้งเล่นเสียงเพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น แต่ไม่มีความหมายสำหรับผู้อื่น

2. อายุ 1 – 5 ปี มีการพัฒนาภาษาพูดในระยะเริ่มแรก (Early Linguistic Development) เริ่มใช้ภาษาพูดเป็นประโยคง่าย ๆ เช่น แม่มา พ่อทำงาน จากการวิจัยปรากฏว่า เมื่อเด็กเริ่มพูดมักพูดเป็นคำนามก่อน เช่น แมว หมา นม ต่อมาจึงเป็นคำกริยา

3. อายุ 5 – 11 ปี เป็นการพัฒนาการพูดในระยะหลัง ( Later Linguistic Development) ระยะนี้เด็กเริ่มเรียนคำศัพท์ การอ่านความหมาย เริ่มสนใจไวยากรณ์ เริ่มใช้ภาษาพูดในลักษณะรูปประโยคที่สมบูรณ์ และเริ่มเข้าใจคำและความหมายของคำมากขึ้น

4. อายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นการพัฒนาการสร้างประโยค (Development of Syntax) เด็กเริ่มศึกษาไวยากรณ์อย่างแท้จริง และสามารถใช้ภาษาได้ดียิ่งขึ้น

ศรียา นิยมธรรม (2519 : 47) การใช้ภาษาสื่อความหมายซึ่งกันและกันได้นั้น มีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีต่อไปนี้

1. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลียนแบบในการพัฒนาภาษาอย่างละเอียด ทฤษฎีนี้เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง

2. ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยพื้นฐานและหลักการจากทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยเงื่อนไขว่า หากเด็กได้รับรางวัลหรือได้รับการส่งเสริมกำลังใจ เด็กจะพูดมากขึ้น

3. ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ทฤษฎีนี้เชื่อว่า เด็กเรียนรู้ภาษาโดยการรับรู้ทางการฟัง เด็กจะพูดซ้ำกับตนเอง และหัดเปล่งเสียงโดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้คำ

4. ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Bubbling Buck) Thorndike ได้อธิบายว่า เมื่อเด็กเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมายในภาษาพูด พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้เด็กจึงมีพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

กระบวนการเรียนรู้ภาษาพูดของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งสามารถใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้นั้น ศรีเรือน แก้วกังวาน (2530 : 16) ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ภาษาตามลำดับดังนี้

1. การเลียนแบบ (Imitation) เป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้ภาษา เพราะเป็นขั้นที่เด็กเลียนเสียงของคำ และพูดตามเสียงที่ได้ยิน

2. การเอาอย่าง (Identification) เด็กมีการเลียนแบบการออกเสียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะเลียนแบบท่าทาง นิสัยใจคอจากบุคคลตามเสียงที่ได้ยินด้วย

3. การเลียนแบบพฤติกรรมตอบสนองพร้อมกับสิ่งเร้าหลายตัว (Multiple Response) เป็นพฤติกรรมตอบสนองสิ่งเร้าที่เด็กพยายามทำตาม โดยลองใช้อวัยวะการเปล่งเสียงต่าง ๆ นั้น ให้ทำงานร่วมกัน ได้แก่ ส่วนสมองที่รับรู้ มองเห็น ได้ยิน ส่วนที่สะสมความจำ ควบคุมริมฝีปาก สีหน้า ท่าทาง และสายตา

4. การเรียนรู้โดยสัมพันธ์กับสภาวะ (Association Learning) เด็กเรียนรู้คำและความหมายโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและสิ่งของหรือพฤติกรรม เช่น เด็กเรียนรู้คำว่า ตุ๊กตา เมื่อแม่ยื่นตุ๊กตาให้แล้วบอกว่า “ตุ๊กตา” เด็กเรียนรู้ได้จากการเชื่อมโยงเสียงและสิ่งของเข้าด้วยกัน

5. การเรียนรู้แบบสอบถาม (Question - Answering) เมื่อได้เรียนรู้ภาษาไปบ้างแล้ว เด็กจะเกิดความคิดอย่างมีเหตุผลขึ้น ความสงสัยและความอยากรู้ อยากเห็น ทำให้เด็กชอบใช้คำถาม การตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น โดยการตอบคำถาม จะช่วยให้พัฒนาการทางภาษาของเด็กดีขึ้น

6. การลองผิดลองถูก (Trial and Error) ช่วงนี้เป็นช่วงลองปฏิบัติ อาจจะถูกบ้าง ผิดบ้าง การเร้าใจและการชมเชยเมื่อเด็กออกเสียงได้ถูกต้อง จะทำให้เด็กมั่นใจ และช่วยให้ภาษาพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น


ที่มา
http://www.kroobannok.com/21344

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning

ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning)

Cooperative and Collaborative Learning หรือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงานอัน ได้แก่

Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structure

โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่มีขอบเขตจำกัด ชัดเจน และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจนมากกว่า ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative Learning

Nagata and Ronkowski (1998) ได้สรุปเปรียบว่า Collaborative Learning เป็นเสมือนร่มใหญ่ที่รวมรูปแบบหลากหลายของ Cooperative Learning จากกลุ่มโครงการเล็กสู่รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มการทำงานที่เรียก ว่า Cooperative Learning กล่าวได้ว่า Cooperative Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของ Collaborative Learning ที่ได้ถูกพัฒนาโดย Johnson and Johnson (1960) และ ยังคงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน

Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึง การช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ ด้วย

Penn State University College of Education (2004) ได้ให้คำจำกัดความของ Collaborative Learning ว่ามีคุณลักษณะของการแบ่งปัน เข้าใจเป้าหมาย มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นและมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการติดต่อสื่อสารในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการตัดสินใจจากการลงความเห็นร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เอื้ออำนวยและชี้แนะให้ นักเรียนได้มองเห็นทางออกของปัญหานั้นๆ

Thirteen Organization (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning เป็นวิธีการหนึ่งของการสอนและการเรียนรู้ในทีมของนักเรียนด้วยกัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามหรือสร้างโครงการที่เต็มไปด้วยความหมาย ตัวอย่างเช่น การที่กลุ่มของนักเรียนได้มีการอภิปราย หรือการที่นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งปันงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนCooperative Learning เป็นการมุ่งเน้นโดยเบื้องต้นที่การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงรูปแบบของการร่วมมือ ซึ่งนักเรียนจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเล็กในโครงสร้างของกิจกรรม ทุกคนจะมีความรับผิดชอบในงานของพวกเขา โดยทุกคนสามารถเข้าใจถึงการทำงานเป็นกลุ่มเป็นอย่างดี และการทำงานกลุ่มแบบ Cooperative นั้นจะมีการทำงานในลักษณะเผชิญหน้า (Face – to –face) และเรียนรู้เพื่อทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นวิธีการ จัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้นอก จากนี้ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ สามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข


แหล่งที่มา
http://supanida-opal.blogspot.com

ลักษณะบุคคลที่มีความสามารถทางด้านพหุปัญญา

ลักษณะบุคคลที่มีความสามารถทางด้านพหุปัญญา

1. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านภาษาจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
1.1 สามารถจับใจความได้ดีจากการฟังสิ่งต่าง ๆ
1.2 สามารถถ่ายทอดความคิดโดยการพูดได้ชัดเจน
1.3 สื่อสารได้ความชัดเจนตรงประเด็น
1.4 สามารถอ่านหนังสือต่าง ๆ ได้ถูกต้อง เข้าใจความหมาย จับใจความได้ดี
1.5 เขียนถ่ายทอดความรู้สึกความรู้ข้อมูลได้ถูกต้องชัดเจนและสามารถเขียนถ่ายทอดได้หลากหลายแนวทาง

2. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านตรรกะจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
2.1 เป็นคนที่คิดเป็นระบบมีเหตุผลในการคิด
2.2 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คือ คิดพิจารณาส่วนย่อยของประเด็นให้เห็นภาพชัดเจน
2.3 มีความสามารถในการคิดสังเคราะห์ คือ ประมวลเชื่อมโยงแง่มุมความคิดรวบยอดและประเด็นต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
2.4 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ นำเหตุผลข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ เชื่อหรือไม่เชื่อ ทำหรือไม่ทำ
2.5 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คือ การประมวลสาเหตุของปัญหา หาวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายและเลือกแนวทางที่สามารถแก้ปัญหาได้เกิดผล
2.6 มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คือ สามารถคิดได้คล่องหลากหลายแนวทาง คิดได้แตกต่างจากคนอื่น คิดยืดหยุ่น ไม่ยึดติด
2.7 มีความสามารถในการใช้จำนวน เข้าใจความเป็นนามธรรมของจำนวน
2.8 มีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์อย่างรอบด้านทั้งทักษะขั้นพื้นฐานและทักษะขั้นสูง 13 ทักษะ คือ
ทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
1. การสังเกต
2. การวัด
3. จำแนกประเภท
4. การหาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่กับพื้นที่ และพื้นที่กับเวลา
5. การใช้ตัวเลข
6. การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
7. การลงความเห็นจากข้อมูล
8. การพยากรณ์
ทักษะขั้นสูงมี 5 ทักษะ ได้แก่
1. การตั้งสมมติฐาน
2. การกำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ
3. การกำหนดและควบคุมตัวแปร
4. การทดลอง
5. การตีความหมายของข้อมูลและการลงข้อสรุป


3. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านดนตรีจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
3.1 ไวต่อการรับรู้จังหวะและทำนอง
3.2 แยกแยะเสียงทำนอง จังหวะได้ดี
3.3 แต่งเพลง สร้างสรรค์ทำนอง
3.4 สื่อสารความคิดออกมาเป็นเพลงหรือทำนองได้ดี


4. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
4.1 สามารถใช้กล้ามเนื้อได้คล่องแคล่วทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่
4.2 ใช้อวัยวะของร่างกายสื่อสารท่าทางและความคิด ความรู้สึกได้
4.3 การใช้กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วในการทำกิจกรรมต่างๆ อาทิเย็บปักถักร้อย แกะสลัก ผ่าตัด เคลื่อนไหวนิ้วมือ ท่าทางต่าง ๆ
4.4 การใช้กล้ามเนื้อใหญ่ได้อย่างคล่องแคล่วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การเล่นกีฬา การเต้นตามจังหวะ การทำท่าประกอบ
4.5 การใช้อวัยวะของร่างกายสื่อสารและแสดงความคิดความรู้สึกได้ เช่น การแสดงละคร แสดงท่าใบ้ สื่อสารภาษา ฯลฯ


5. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านพื้นที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
5.1 สามารถวาดภาพในสมองและออกแบบสิ่งต่างๆ ได้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการใช้
5.2 กะระยะได้แม่นยำ รู้เรื่องทิศทาง คนที่มีความสามารถด้านนี้จึงไม่หลงทาง
5.3 วาดรูปได้ถูกสัดส่วนและสื่อความคิด ความรู้สึกผ่านรูปภาพได้ชัด ทั้งความคิดเชิงรูปธรรมและความคิดเชิงนามธรรม


6. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านรู้จักตนเองจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
6.1 นับถือตนเอง มั่นใจตนเอง รู้จักเข้าใจจุดดี จุดด้อยของตนเอง
6.2 วางแผนการทำงานของตนเองและหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เก่งสูงสุดและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
6.3 มีวิธีการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เหมาะสม และเตือนตนเองให้ทำงานตามที่วางแผนไว้จนบรรลุเป้าหมาย
6.4 กระตุ้นตนเองให้ต่อสู้อุปสรรคและอดทนต่อความลำบากกายและใจได้


7. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านการเข้าใจคนอื่นจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
7.1 สามารถรับรู้อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของบุคคลต่าง ๆ รอบตัวได้
7.2 ปรับปฏิสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
7.3 ทำงานกลุ่มได้ดี มีความเป็นผู้นำ เป็นสมาชิกกลุ่มที่ดีและรู้บทบาทตนเองในแต่ละสถานการณ์


8. คนที่มีความสามารถทางสติปัญญาด้านการรอบรู้ธรรมชาติจะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดี
8.1 มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติอย่างลึกซึ่ง ทั้งวงจรชีวิต สภาพปัจจุบัน การดูแลให้คงอยู่และการที่ทำให้ธรรมชาติที่เสียหายหมดไป
8.2 สามารถคาดคะเนสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมีเงื่อนไขต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงมักจะชอบอยู่กับธรรมชาติและหลงใหลในความงามของธรรมชาติ
8.3 มักจะชอบอยู่กับธรรมชาติและหลงใหลในความงามของธรรมชาติ


ที่มา
http://www.seal2thai.org

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น

ทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism

รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของเพียเจท์ (Jean Piaget) เป็นการเรียนรู้แบบเดิมที่เราใช้กันมานาน คือ การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น ซึ่งเสนอในรูปสมการลูกศรทางเดียวได้ดังนี้


S-------------------------------------> O


S (Stimulant) คือ แรงกระตุ้น อาจเป็นครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นนักเรียนหรือผู้เรียน

O (Organism) คือ ผู้ที่ถูกกระตุ้น คือ นักเรียน หรือผู้เรียน
จากสมการข้างต้น ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่อยู่นิ่งๆ (passive) หรือเป็นผู้ที่ถูกกระทำ ซึ่งผู้เรียนจะต้องพึ่งพาสิ่งที่มากระตุ้นก็คือครู ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้จากการที่ครูเป็นผู้ให้ความรู้และผู้เรียนเป็นผู้รับความรู้อย่างเดียว หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนเปรียบเสมือนกล่องเก็บของว่างๆ และครูจะเป็นผู้นำข้อมูลความรู้ต่างๆ มาใส่ให้ นี่คือการเรียนรู้แบบเดิม

สำหรับการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism หรือการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง มองว่าการเรียนรู้แบบเดิมไม่ใช่การเรียนรู้ที่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่การสอนให้เด็กเรียนรู้ เด็กไม่ได้เรียนรู้เอง ไม่ได้คิดเอง เราพบว่าการพัฒนาศักยภาพสมองไม่ใช่การให้เด็กเป็นผู้รับอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องให้เด็กและครูเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ทฤษฎี constructivism หรือทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ คือ การสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเอง เด็กและครูจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตามทฤษฎีการเรียนรู้constructivism ผู้เรียนจะมีความสัมพันธ์กับผู้สอนดีกว่าการเรียนรู้รูปแบบเดิม เพราะมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียนและผู้ทำหน้าที่สอน ซึ่งจะเสนอในรูปสมการลูกศรสองทางดังนี้


O<------------------------------------------> S

จากสมการ O คือ ตัวนักเรียนหรือผู้เรียนที่เป็นตัวหลักที่มีสิ่งกระทำต่อตัว S คือ ครูหรือผู้สอนด้วย โดยมีลักษณะเป็นลูกศรสองทาง กล่าวคือ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ใช่อยู่นิ่งๆ เหมือนกับในสมการแรกที่เป็นการเรียนรู้แบบเดิม หรือพูดง่ายๆ คือ ครูหรือผู้สอนและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่สิ่งที่กระตุ้นหรือสิ่งที่กระทำต่อผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่ผู้เรียนก็มีการกระทำต่อครูหรือผู้สอนด้วย นั่นคือผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับครู มีการสัมพันธ์อย่าง
ไม่อยู่นิ่งทั้งสองฝ่ายเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้


ทฤษฎี Constructivism ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่องความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่เดิม และเมื่อเราเรียนรู้ต่อไปความรู้เดิมก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนความรู้ต่างๆ ถือว่าเป็นการรับความรู้เข้ามาและเกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ขึ้น เด็กจะมีการคิดที่ลึกซึ้งกว่าการท่องจำธรรมดา เพียงแต่เขาจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มา และสามารถที่จะสร้างความหมายใหม่ของความรู้ที่ได้รับมานั่นเอง

บางครั้งเราคิดว่าถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีพอและเต็มไปด้วยข้อมูลที่สามารถให้กับผู้เรียนได้มากที่สุดเท่าที่เราจะให้ได้แล้ว ผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้เองและเติบโตไปเป็นผู้ที่มีการศึกษา แต่ทฤษฎี constructivism กล่าวว่าหลักสูตรอย่างนั้นไม่ได้ผล นอกจากว่าผู้เรียนได้เรียนแล้ว สามารถคิดเองและสร้างมโนภาพความคิดด้วยตนเอง ทั้งนี้ เพราะการให้แต่ข้อมูลกับผู้เรียน ไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองของคนเรามีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นแล้วนำมาทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งจะต้องนำมาสร้างความรู้ ความรู้สึก และมโนภาพของเราเองด้วย


ดังนั้นถ้าพูดถึงระบบการศึกษาแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้หมายความว่ามีอุปกรณ์การสอนแล้วเราละทิ้งให้ผู้เรียนเรียนไปคนเดียว แต่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นในที่นี้ หมายถึง ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง


ตัวกระตุ้นที่มีความสำคัญมากต่อการเกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism คือ ความรู้เกิดจากความฉงนสนเทห์ทางเชาวน์ปัญญา วิธีการที่เราสามารถทำให้ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้คือมีตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัยอยากรู้ และผู้เรียนต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์ที่อยากจะเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้เพราะว่าเวลาคนเราเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอะไร ก็มักจะเกิดข้อคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้น เป็นเป้าหมายที่จะทำให้ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะตอบคำถามนั้นให้ ได้

ดังนั้นครูจึงต้องพยายามดึงจุดประสงค์ ความต้องการ และเป้าหมายของผู้เรียนออกมาให้ได้ อาจจะโดยกำหนดหัวข้อหรือพูดคร่าวๆ ว่าเราจะศึกษาหรือเรียนรู้อะไรบ้าง เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเข้าเมือง ให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายว่าเขาต้องการที่จะเรียนรู้อะไร มีคำถามอะไรบ้าง ซึ่งเป้าหมายจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนและทำให้ผู้เรียนพยายามที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น


อีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มนักจิตวิทยา ได้ให้ความคิดเห็นว่าความรู้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม จากการที่เราได้ทบทวนและสะท้อนกลับไปของความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราเข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นสังคม กล่าวคือ ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม ความรู้มาจากการที่คนอื่นได้แสดงออกของความคิดที่แตกต่างกันออกไป และกระตุ้นให้เราเกิดความสงสัย เกิดคำถามที่ทำให้เราอยากรู้เรื่องใหม่ๆ


ดังนั้นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีสังคม ต้องดึงเอาความรู้เก่าออกมาและต้องให้ผู้เรียนคิดและแสดงออก ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับสังคมที่มีการสนทนากัน แม้ว่าบางครั้งการสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็นอาจจะไม่ตรงกันหรือมีความขัดแย้งกัน แต่ความขัดแย้งจะทำให้เราเกิดการพัฒนาและได้ทางเลือกใหม่จากที่คนอื่นเสนอ ฉะนั้นต้องทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาว่ารู้อะไร และให้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยที่ครูหรือผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลือเขา


สิ่งสำคัญมากประการหนึ่ง คือ ครูจะต้องมีเวลากลับไปทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการออกแบบชั้นเรียน และถ้าผู้เรียนสามารถสร้างวิธีการประเมินตนเองในการเรียนรู้ที่ผ่านมา ก็จะประเมินตนเองได้ว่าได้ทำอะไรเพิ่มเติมจากที่ครูประเมิน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ของเขาและสะท้อนว่าเขาได้ เรียนอะไรและทำได้ดีเพียงไร






ที่มา
http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=313

ระบบการสอนของดิคและคาเรย์ (Dick and Carey)


ระบบการสอนของดิคและคาเรย์ (Dick and Carey)

ดิคและคาเรย์ (Dick and Carey) ได้เสนอรูปแบบระบบการสอน สรุปรวมได้ 3 องค์ประกอบคือ

1. กำหนดผล (จุดมุ่งหมาย) ของการสอน
2. การพัฒนาการสอน
3. การประเมินการเรียนการสอน


จากองค์ประกอบหลักทั้ง 3 ประการนี้ ดิคและคาเรย์ ได้แบ่งกิจกรรมการจัดระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นดังนี้

1. การกำหนดความมุ่งหมายการสอน (identify instructional goals) เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอนซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ความจำเป็น (need analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน

2. การวิเคราะห์การสอน (conduct instructional analysis) ขั้นตอนนี้อาจทำก่อนหรือหลังขั้นที่ 3 หรืออาจจะทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้ การวิเคราะห์การสอนเป็นการวิเคราะห์ภารกิจ หรือวิเคราะห์ขั้นตอนการดำเนินการสอน ในเรื่องนี้ กาเย่ (Gagne. 1985) ได้เสนอแนะว่าการวิเคราะห์การสอนอีกลักษณะหนึ่งก็คือ information-processing analysis ตามแนวคิดของกาเย่นั้นเอง ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (task classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน

3. ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (identify entry behaviors and characteristics)

4. เขียนจุดมุ่งหมายการเรียน (write performance objectives) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะ หรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมและสอดคล้องกับความมุ่งหมายการสอน จุดมุ่งหมายการเรียน

5. สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (develop criterion referenced test) เพื่อประเมินการเรียนการสอน

6. พัฒนายุทธศาสตร์การสอน (develop instructional strategy) เป็นแผนการสอน หรือเหตุการณ์การสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการสอน

7. เลือกและพัฒนาวัสดุการเรียนการสอน (develop and select instructional materials) เป็นการเลือกและพัฒนาสื่อการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์

8. ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน (design and conduct summative evaluation)

9. ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน (design and conduct summative evaluation)

10.แก้ไขปรับปรุงการสอน (revise instruction) เป็นขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอน นับตั้งแต่ขั้นที่ 2 จนถึงขั้นที่ 8


ที่มา
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_dick.htm

การจัดการศึกษาในโรงเรียนแบบเชิญชวน

การจัดการศึกษาในโรงเรียนแบบเชิญชวน


การจัดโรงเรียนแบบเชิญชวน เป็นการจัดโรงเรียนให้เป็นสถานที่ที่น่าเข้าไปเยือนมากที่สุดในบรรดาสถานที่ต่างๆ ในชุมชน และเป็นสถานที่ที่นักเรียนมีความรู้สึกว่าน่าเข้าไปเรียนและเรียนอย่างมีความสุข เนื่องจากโรงเรียนมีจุดเน้นที่คำนึงถึงศักยภาพของนักเรียนเป็นสำคัญ คำนึงถึงว่านักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัว พร้อมที่จะพัฒนา และคำนึงถึงว่าบุคลาการทุกฝ่ายในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีพลังที่กระตุ้นให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพของตัวเอง ซึ่งจะทำสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายในโรงเรียนร่วมมือกันและทำงานร่วมกัน โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาแบบเชิญชวนเข้ามาใช้ในโรงเรียน

แนวคิดการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน

การจัดการศึกษาแบบเชิญชวนเน้นหลักการพื้นฐาน

ทุกคนมีความสามารถ มีคุณค่า และมีความรับผิดชอบ ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติต่อเขาเช่นนี้ และควรช่วยให้เขาประพฤติเช่นนี้ ผู้บริหาร ครู และทุกคนในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการที่ทำให้นักเรียน ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของเขา และหาวิธีการที่หลากหลายสำหรับช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในโรงเรียน

การจัดการศกึษาเป็นกิจกรรมที่เป็นความร่วมมือกัน และร่วมคิดร่วมทำ ครูและนักเรียนจะดำเนินกิจกรรมร่วมกันบุคลากรทุกคนในโรงเรียนทำงานร่วมกัน

กระบวนการมีความสำคัญเท่ากับผลผลิตต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนประสบความสำเร็จ

คนทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าที่ซ่อนอยู่ภายในตัว และยังใช้ศักยภาพของตัวเองเพียงส่วนเล็กน้อยของศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในตัวเอง การจัดหลักสูตร นโยบาย โปรแกรม และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนสามารถช่วยให้นักเรียนค้นพบศักยภาพของตัวเองและเชิญชวนให้ปรากฏออกมาได้เต็มที่

ศักยภาพของคนทุกคนสามารถดึงออกมาได้ดีที่สุด โดยบุคคล มีจุดหมายและเจตนาเชิญชวน มีการออกแบบจัดสถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการ อย่างเจาะจงเชิญชวนให้เกิดการพัฒนา (อ้างใน นิรมล ศตวุฒิ, 2549 : 141-142)

องค์ประกอบ 5 ด้าน หรือ ของการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน คือ บุคคล สถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการต้องได้รับการพัฒนา ดังนี้ การยอมรับนับถือ

บุคคล ได้แก่ บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีเจตคติและแสดงพฤติกรรมที่อาทรและเอาใจใส่กัน ให้การยอมรับนับถือกัน มีความเชื่อถือและไว้วางใจกัน มองกันในแง่ดี และมีจุดหมายและเจตนา ในการกระทำทุกอย่าง

สถานที่ ได้แก่ อาคารและสภาพแวดล้อมทั้งหมดของสถานศึกษา ได้รับการดูแลให้มีความสะอาด สวยงาม เห็นแล้วน่าพึงพอใจ ผู้ใช้สถานที่หรือผู้อยู่รู้สึกอบอุ่นมั่นคง


นโยบาย ได้แก่ กฎระเบียบ ข้อตกลง กระบวนการปฏิบัติงานสำหรับให้บุคคลและโรงเรียนทำหน้าที่อย่างเป็นระเบียบ เน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์และคำนึงถึงความสามารถ คุณค่าและความรับผิดชอบของทุกคน

โปรแกรม ได้แก่ หลักสูตร และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่ครอบคลุมความต้องการของมนุษย์อย่างกว้างขวาง เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมและจัดการอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้


กระบวนการ ได้แก่ วิธีการปฏิบัติที่จะทำให้บุคคล สถานที่ นโยบายและโปรแกรม ทำหน้าที่ไปได้จะส่งเสริมจิตวิญญาณ การร่วมมือกัน ความพยายามร่วมคิด ร่วมทำ อุดมการณ์ทางประชาธิปไตย และจริยธรรม เสริมสร้างวิธีการดำรงชีวิตตามความสนใจ ความสามารถ โอกาสที่จะก้าวหน้าของแต่ละบุคคล การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง และกิจกรรมส่งเสริมมนุษยธรรม
ในการจัดการศึกษาแบบเชิญชวน เจตคติและพฤติกรรมของบุคคลจะพัฒนาในขอบเขตของข้อตกลง 5 ประการ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในองค์ประกอบด้านบุคคล คือ


ความอาทรและเอาใจใส่ดูแล เป็นการช่วยให้บุคคลเชื่อมโยงจุดหมายส่วนตัวเข้ากับเป้าหมายปลายทางที่มีคุณค่าของสังคม ช่วยให้แต่ละคนมีความพอใจและประสบผลสำเร็จในการกระทำสิ่งที่มีคุณค่า โดยการนำไปสู่สิ่งที่เป็นไปได้ในด้านบวก


การยอมรับนับถือ ว่าทุกคนมีความสามารถ มีคุณค่า และมีความรับผิดชอบ และปฏิบัติต่อเขาเช่นนั้น ก่อให้เกิดการมีความรับผิดชอบร่วมกัน มีความร่วมมือกันอย่างเท่าเทียมและเฉลี่ยอำนาจกันโดยคาดหวังผลลัพธ์ในด้านบวก


การให้ความเชื่อถือและไว้วางใจ เป็นการแสดงความเชื่อมั่นในความสามารถ ความมีคุณค่า และมีความรับผิดชอบของทุกคน และปฏิบัติต่อเขาเช่นนั้น มีการพึ่งพาอาศัยกันและร่วมมือกัน บนพื้นฐานของปฏิสัมพันธ์ที่มีความเชื่อถือและไว้วางใจกัน


การมองในแง่ดี คือ การมีความเชื่อเป็นพื้นฐานว่าทุกคนมีศักยภาพหลายด้านที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ และสามารถพัฒนาได้ ทุกคนมีความดีอยู่ในตัวและต้องนำออกมาใช้ เมื่อทำผิดก็พยายามแก้ไขเองรวมทั้งชื่นชมพัฒนาการและความก้าวหน้าของทุกคน


การมีจุดหมายและเจตนา เป็นการกระทำอย่างตั้งใจที่จะทำให้ศักยภาพของทุกคนปรากฏเป็นจริงได้อย่างคงเส้นคงวา โดยจัดการสถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการที่ออกแบบเฉพาะเพื่อพัฒนาการเชิญชวนโดยบุคคลที่เชิญชวนตัวเองและผู้อื่นทั้งด้านส่วนตัวและด้านอาชีพ
ลักษณะของโรงเรียนแบบเชิญชวน

การจัดโรงเรียนโดยการนำแนวคิดของการจัดการศึกษาแบบเชิญชวนมาประยุกต์ใช้นั้น ทำให้โรงเรียนที่จัดมีลักษณะดังนี้

การยอมรับนับถือลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล : หลักสูตร นโยบาย โปรแกรม การพิจารณาเรื่องต่างๆ และการประเมินผลตั้งอยู่บนพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนเป็นสำคัญ ในการให้คะแนนจะให้นักเรียนมีส่วนร่วม ถ้าได้คะแนนต่ำ นักเรียนจะได้รับการดูแลอย่างจริงจัง นักเรียนจะได้รับการสนับสนุนให้ทดสอบตัวเอง ตัดสินผลงานและความก้าวหน้าของตัวเอง ให้นักเรียนมองความผิดพลาดเป็นแหล่งข้อมูลมากกว่าจะเป็นสัญญาณของความล้มเหลว นักเรียนทุกคนจะได้รับการสนับสนุนให้มีความมั่นใจว่า ตัวเองมีความสามารถที่จะเรียนรู้ เชื่อถือความรู้สึกของตัวเอง และชื่นชมลักษณะเฉพาะของตัวเอง


จิตวิญญาณของการร่วมมือกัน : ทุกคนในโรงเรียนมีความรับผิดชอบในการร่วมมือกัน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทุกคนมีส่วนในการบริหารโรงเรียน การแข่งขันกันมีน้อยที่สุด นักเรียนที่ไม่สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์จะได้รับการช่วยเหลือพิเศษด้วยความอาทรและเอาใจใส่ตลอดจนการยอมรับนับถือการสอนที่ให้เพื่อนช่วยเพื่อนจะได้รับการสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกัน และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


ความรู้สึกเป็นเจ้าของ : บรรยากาศในโรงเรียนมีความอบอุ่นและผูกพันกัน ครูและนักเรียนคิดถึงโรงเรียนของเรา งานของเรา และพวกเราทุกคนอยู่ร่วมกัน ให้นักเรียนอยู่ร่วมกันให้มากที่สุด กระตุ้นความรู้สึกภาคภูมิใจต่อโรงเรียน ความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของโรงเรียน อาทรและเอาใจใส่โรงเรียนจัดบรรยากาศที่ทำให้นักเรียนรู้สึกถึงความเมตตากรุณาที่โรงเรียนมีต่อเขา


สภาพแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์ : ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมทั่วไปได้รับการเอาใจใส่อย่างดี ครูบุคลากรทุกฝ่ายและนักเรียนแบ่งความรับผิดชอบร่วมกับนักการภารโรงในการช่วยกันสร้างสรรค์และรักษาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่สวยงามและน่าอยู่ น่าเรียน ไม่ว่าโรงเรียนจะเก่าแค่ไหน ทุกคนจะช่วยกันทำให้น่าประทับใจให้มากที่สุด ห้องเรียนทุกห้องมีแสงสว่างพอ ระบบเสียงและอุณหภูมิอยู่ในระดับน่าพอใจ การออกแบบตกแต่งในห้อง บริเวณหน้าต่าง ที่ว่าง การจัดเฟอร์นิเจอร์ และการใช้สี จะทำในลักษณะที่เสริมสร้างบรรยากาศที่ดึงดูดความสนใจและสร้างความอบอุ่น สะดวกสบาย


การคาดหวังผลในทางบวก : นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้มองตัวเองในทางบวก และรับรู้ว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพที่ดีอยู่ในตัวที่จะเรียนรู้ได้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนยินยอมที่จะเรียนรู้และมีส่วนร่วม ไม่ใช่เรียนรู้เพราะครูป้อนให้ นักเรียนจึงต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะเรียนอะไร เรียนแค่ไหน ใช้เวลาเรียนเท่าใด และจะประเมินผลความก้าวหน้าของตัวเองอย่างไร ครูจะช่วยกระตุ้นนักเรียนแต่ละคน โดยการสื่อสารความคาดหวังหรือผลลัพธ์ด้านบวกแก่นักเรียน


ความสัมพันธ์กับสังคม/ชุมชน : สมาชิกในโรงเรียนได้รับการกระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและปฏิสัมพันธ์กับชุมชน นักเรียนรุ่นพี่ทำงานร่วมกับนักเรียนรุ่นน้อง บุคลากรในโรงเรียนที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านกีฬาช่วยเป็นผู้ฝึกซ้อมกีฬาประเภทนั้นๆ ให้นักเรียนสมาชิกในชุมชนเข้ามาช่วยและร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ผู้ปกครองอาสาสมัครร่วมทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ นักเรียนออกไปร่วมกิจกรรมของชุมชน ความสัมพันธ์เหล่านี้ อาจดำเนินการกว้างไกลออกไปสู่สังคมระดับประเทศและโลก โดยโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนประยุกต์การเรียนรู้จากในโรงเรียนไปปฏิบัติในประเด็นที่เกี่ยวกับสังคมระดับประเทศ และระดับโลกด้วย




สรุป

การสร้างสรรค์บรรยากาศเชิญชวนในโรงเรียนเป็นหัวใจของการพัฒนานักเรียน นักเรียนจะได้รับการเชิญชวนให้เรียน ได้รับการเชิญชวนให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่นและรู้สึกว่าได้รับการยอมรับนับถือ และได้รับการสนับสนุน ส่งผลให้นักเรียนยอมรับว่าผู้อื่นมีคุณค่าและให้การยอมรับนับถือและสนับสนุนผู้อื่นด้วย องค์ประกอบด้านบุคคล สถานที่ นโยบาย โปรแกรม และกระบวนการของโรงเรียน มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมที่เชิญชวนให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ และเชิญชวนให้เกิดการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันที่โรงเรียนสร้างบรรยากาศแบบเปิดเผย ไว้วางใจกัน ยอมรับนับถือกัน อาทรและเอาใจใส่กัน มองกันในแง่ดี และมีจุดหมายและเจตนาร่วมกัน จะทำให้บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น เอาชนะอุปสรรคร่วมกัน จัดการข้อโต้แย้งและความคิดที่แตกต่างกันได้โดยปราศจากความแตกแยกในการทำงานและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในโรงเรียน





โดย : รศ.ดร.นิรมล ศตวุฒิ


ที่มาข้อมูล : วารสารวิชาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2550

ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRUAT MODEL

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PRUAT MODEL

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ ครูต้องเตรียมความพร้อมต่อการดำเนินการตลอดเวลา ดังนั้น ทฤษฎีแนวคิดความคิดที่ควรนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ครูผู้สอนควรพึงมีในใจ ดังนี้

P : PLAN การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

- การจัดทำหรือศึกษา เนื้อหาหลักสูตร สถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้

- การจัดทำหรือศึกษาแผนจัดการเรียนรู้ , ใบความรู้ , ภาระงาน , ชิ้นงาน , นวัตกรรม

- ศึกษาหรือจัดทำเครื่องมือในการวัดผลและประเมินผล

- จัดทำบันทึกการสอน บันทึกการสอนหลังแผนจัดการเรียนรู้ สู่งานวิจัยชั้นเรียน

“จัดเตรียมความพร้อม มีเวลาเพียงพอต่อเติมงานสอน”


R : ROOM การสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน

- ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในห้องเรียน ห้องเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทั้งในและนอกห้องเรียน

- การศึกษาผ่านป้ายนิเทศ , การศึกษาโดยวิทยากรภายนอก , การศึกษาจากครูท่านอื่นๆ

“ห้องเรียนเก่าๆ น่าเศร้าใจ ห้องเรียนใหม่ๆ ได้ใจนักเรียนนะจ๊ะ”


U : UPDATE การพัฒนาตนเองให้ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ปรับปรุงตน

- อบรมพัฒนาตนอยู่เสมอ

- อบรมสู่ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

“เก่าต้องรู้ ใหม่ต้องรับ ปรับตัวให้ทันสมัย เหมือน Wireless”


A : ASSESSMANT การประเมินตามมาตรฐาน

- การนิเทศการสอน

- การเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน , ภายนอก

“กระจกมองตัวตนเรายังได้ไม่ทั่วถึง แต่คนอื่นสามารถมองตัวเราได้แท้จริง”


T : TEACHER การก้าวสู่ “ครูมืออาชีพ , ครูเกียรติยศ , ครูต้นแบบ , ครูดีเด่น”

- การรับรองความเป็นครูมืออาชีพ จากสถาบัน หน่วยงาน ทางการศึกษา สู่ความภาคภูมิใจ

“รางวัลทรงคุณค่า คือ ตีตรามาตรฐานวิชาชีพครู”






ที่มา
http://www.kroobannok.com/blog/15115

ประโยชน์ของการวิจัย และ คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย

ประโยชน์ของการวิจัย

ปัจจุบันนี้บุคคลในวงการต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจการวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะได้เล็งเห็นประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อมวลมนุษย์นั่นเอง แต่ประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูกต้องมากน้อยเพียงใด ถ้าข้อมูลเป็นเท็จผลการวิจัยที่ได้แทนที่จะเป็นประโยชน์จะกลับกลายเป็นโทษต่อผู้นำผลการวิจัยนั้นไปใช้ ดังนั้นการวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย โดยทั่วไปแล้วอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. การวิจัยช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
2. การวิจัยสามารถใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและยุติธรรม
3. การวิจัยจะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถใช้ทำนายปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากกว่าการคาดคะเนแบบสามัญสำนึก
4. การวิจัยสามารถช่วยในด้านการกำหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปัญหาหรือการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารให้เป็นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
5. การวิจัยสามารถตอบคำถามที่ยังคลุมเครือให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
6. การวิจัยจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักวิชาการ ให้มีการใช้ผลการวิจัยและทำงานค้นคว้าวิจัยต่อไป
7. การวิจัยจะทำให้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งนำมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนาบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าดียิ่งขึ้น
8. การวิจัยทำให้มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมให้ทราบข้อเท็จจริงได้กว้างขวางและแจ่มชัดยิ่งขึ้น
9. การวิจัยจะช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิด และค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
10. การวิจัยช่วยให้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอำนวยความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก


คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย

ในการทำงานวิจัยใด ๆ ก็ตามผู้วิจัยหรือนักวิจัยนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะงานวิจัยจะสำเร็จสมความมุ่งหมายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนักวิจัยเป็นสำคัญ ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องมีคุณลักษณะที่จำเป็นบางประการดังต่อไปนี้

1. มีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาที่ทำการวิจัยเป็นอย่างดี นับเป็นความจำเป็นมากที่นักวิจัยจะต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในสาขาวิชาที่ตนทำการวิจัยอยู่เพื่อจะได้เลือกใช้เทคนิค วิธีการและเครื่องมือให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของงานวิจัยนั้น และสามารถค้นหาหรือเลือกใช้ความรู้จากงานวิจัยที่แล้วมาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การที่นักวิจัยมีความรู้ดีก็จะสามารถสรุปผลของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ฉะนั้นนักวิจัยจึงต้องค้นคว้าติดตามอ่านผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อจะได้ศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคนิคใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

2. มีความรอบรู้ในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ นักวิจัยจ้ะองมีความรู้ในวิชาอื่นด้วย เพราะในการวิจัยนั้นอาจจะพาดพิงหรือเกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ อยู่บ้าง เนื่องจากขอบเขตของการวิจัยไม่สามารถจะแยกออกไปได้อย่างชัดเจนเหมือนวิชาเรียนในห้องเรียน เช่น การศึกษาเรื่องการคายน้ำของพืช ก็ต้องอาศัยความรู้ทางชีววิทยาและเคมี เป็นต้น ฉะนั้นนักวิจัยจึงต้องศึกษาและขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งอาจจะกลับไปทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมาก่อนหรือไม่ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม

3. มีความอยากรู้อยากเห็น นักวิจัยที่ดีต้องมีความกระตือรือร้นในการทำงานวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ ตามที่ตนเองสนใจ แม้จะได้ผลวิจัยแล้วก็ไม่ยอมหยุดที่จะทำการวิจัยต่อไปเพื่อค้นหาให้ได้คำตอบใหม่ ๆ ออกมาอีก ในการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบนั้นอาจจะพบปัญหาเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นการท้าทายนักวิจัยและนักวิจัยก็จะไม่ยอมหยุดยั้งที่จะค้นหาคำตอบของปัญหานั้น ๆ ให้ได้ การที่นักวิจัยมีความอยากรู้อยากเห็นอยากที่จะได้คำตอบของปัญหาต่าง ๆ นี้ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในศาสตร์ด้านต่าง ๆ เป็นอันมาก เช่น ความอยากรู้ของเบนจามิน แฟรงคลิน ถึงสาเหตุของการเกิดฟ้าแลบฟ้าผ่า ก็ได้มีการค้นคว้าทดลองจนได้คำตอบในที่สุด

4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตามปกตินักวิจัยต้องใช้สมองในการคิดมากกว่าวิชาอื่น ๆ มาก เพราะในการวิจัยนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความคิดของนักวิจัยอันจะก่อให้เกิดความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ การดัดแปลงวิธีการที่มีผู้ใช้กันอยู่แล้วมาปรับปรุงใช้ก็ถือได้ว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการศึกษามาก แต่นักวิจัยจะทำได้มากหรือน้อยอย่างไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ความสนใจ การอ่าน และการรวบรวมผลการวิจัยที่เคยมีคนทำมาก่อน ตลอดจนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละคนว่ามีมากน้อยเพียงใดด้วย

5. มีความอดทนเมื่อผจญกับอุปสรรคและความล้มเหลว นักวิจัยควรตระหนักเสมอว่าการทำงานวิจัยเป็นการผจญภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งย่อมจะต้องมีปัญหาหรืออุปสรรคนานัปการ นักวิจัยจึงต้องมีความอดทนพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรคนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา และหาทางแก้ไขเพื่อให้งานวิจัยนั้นดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ฉะนั้นนักวิจัยที่ดีจึงต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้ได้เสียก่อนว่าอุปสรรคในการวิจัยนั้นมีทั้งสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ในกรณีที่การวิจัยนั้นไม่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว นักวิจัยก็ควรยอมรับเพราะการทำการวิจัยนั้นขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายอย่าง ถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็อาจทำให้งานวิจัยหยุดชะงักหรือต้องล้มเลิกไปก็ได้ นักวิจัยก็ไม่ควรที่จะรู้สึกผิดหวังและหมดกำลังใจที่จะคิดทำการวิจัยต่อไป แต่ขอให้นึกเสมอว่าการประสบผลสำเร็จในการวิจัยนั้นขึ้นอยู่กับเวลาด้วยเหมือนกัน เพราะการวิจัยบางชนิดต้องลงทุนมากและใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล

6. มีความกล้าที่จะตัดสินใจ นักวิจัยที่ดีจะต้องมีความกล้าที่จะคิดและตัดสินใจในการทำงานวิจัยนั้น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของตนเองโดยมีความคิดเป็นอิสระ และมีความซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาไม่ลำเอียงต่อผลการวิจัยที่ได้ พร้อมเสมอที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นและคำวิพากษ์วิจารณืของคนอื่นในเรื่องที่ตัดสินใจเพื่องานวิจัยนั้น

7. มีความสามารถในการบังคับตนเอง เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการวิจัยเป็นงานที่ต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะเป็นอย่างมากจึงจะสำเร็จได้ ดังนั้นนักวิจัยที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตนเองเพื่อให้งานการวิจัยนั้นดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและบรรจุผลในที่สุด ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจึงควรมีความอดทน ไม่เบื่อง่าย รู้จักประมาณตน รู้กำลังและขอบเขตความสามารถของตนด้วย สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้งานวิจัยประสบความสำเร็จได้

เกี่ยวกับคุณสมบัติของนักวิจัยนี้ คณะกรรมการที่เรียกว่า National Committee on Secondary Education ของอเมริกา ก็ได้กำหนดคุณลักษณะของนักวิจัยไว้ดังนี้

1. ด้านอารมณ์และแรงขับ (Emotional factor - drive) ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยนั้นมักจะมีแรงขับในทางอารมณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1.1 มีความอยากรู้อยากเห็นอันเกิดจากแรงขับภายในตัวเอง
1.2 เป็นคนที่มีความสุขและเพลิดเพลินต่องานคิดสร้างสรรค์ของใหม่ เป็นความสุขภายในอันเกิดขึ้นจากผลงานของตนเองมากกว่าที่จะเป็นความสุขอันเกิดขึ้นจากวัตถุหรือสิ่งภายนอก
1.3 เป็นคนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หรือเป็นคนที่มุ่งหวังหรือต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จมากและมีความคิดว่าผลงานที่เขาทำนั้นมักจะมีประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่น ๆ

2. ด้านความรู้และประสิทธิภาพ (Knowledge - efficiency) ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยนั้นมักจะมีลักษณะเด่นในทางความรู้ที่มีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
2.1 เป็นผู้มีความสามารถในการค้นหา เลือก และใช้ความรู้จากผลงานวิจัยที่ผ่านมาได้อยางรวดเร็ว
2.2 มีความรู้ความสามารถที่จะใช้กระบวนการทดลองที่เหมาะสมกับสภาพปัญหา และมีความสามารถในการใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ ตรรกวิทยาในการทดลอง
2.3 เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือการวิจัยประเภทต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
2.4 มีความรู้และทักษะในวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล รู้ว่าข้อมูลใดควรใช้สถิติแบบใด และสามารถแปลผลที่ไดจากการใช้สถิตินั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง
2.5 มีความสามารถในการขมวดความคิดหรือสรุปผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.6 มีความสามารถในการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และคาดคะเนได้ดี
2.7 มีความสามารถในการทำงานที่มีระเบียบ สามารถจัดหมวดหมู่ของความคิด และเขียนรายงานการวิจัยได้ดี

3. ด้านการตัดสินใจและบังคับตน (Volition - control) นักวิจัยที่ดีควรจะมีความสามารถในด้านการตัดสินใจและบังคับตนเองในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
3.1 เป็นคนกล้าคิด
3.2 เป็นคนอดทน วิริยะ อุตสาหะ ไม่เบื่อง่าย
3.3 เป็นคนใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
3.4 เป็นคนถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน มีความสุขุมรอบคอบ และสุภาพต่อคนทั่วไป ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ แต่ใช้ปัญญาที่สุขุมรอบคอบในการตัดสินใจทุก ๆ อย่าง
3.5 มีความซื่อสัตย์ต่อหลักวิชา คือยึดมั่นในหลักวิชาที่ดีงามและยุติธรรม เป็นคนที่มีพลังใจการใช้ปัญญาความคิดที่มีเหตุผลชั้นสูง
3.6 มีแนวทางเป็นของตนเอง มีความคิดที่เป็นอิสระและนำตนไปในทางที่ดีงาม
3.7 รู้จักประมาณตน คือรู้จักกำลังและขอบเขตความสามารถของตน
3.8 เป็นผู้มีความสามารถในการควบคุมตนเองให้เป็นไปตามหลักวิชาที่ดีงามและยุติธรรม
3.9 มีความเชื่อในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ คือเชื่อว่าธรรมชาติมีเอกลักษณ์ กฎ การเปลี่ยนแปลง เหตุและผล
3.10 มีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีศักยภาพ เข้าใจสังคมและเข้าใจการควบคุมตนเอง
3.11 เป็นผู้มีความเชื่อว่ามีโอกาสที่จะค้นหาความจริงได้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม




เอกสารชุดนี้นำมาจาก เอกสารประกอบคำสอนเรื่อง "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย" โดย รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์
http://www.watpon.com/Elearning/res10.htm

ลำดับขั้นในการวิจัย

ลำดับขั้นในการวิจัย

เพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้อย่างดีโดยไม่เกิดข้อผิดพลาดอันจะเป็นผลเสียหายต่องานวิจัย ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องดำเนินการวิจัยไปตามลำดับขั้นของการวิจัยอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งลำดับขั้นในการวิจัยที่สำคัญ ๆ (Major step) นั้น มีดังต่อไปนี้

1. เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Selecting a topic of research) เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตหรือขอบข่ายของงาน

2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (Review literature and related research) เพื่อให้ผู้วิจัยมองเห็นวิวัฒนาการของความรู้หรือทฤษฎีนั้น ๆ ว่ามีพัฒนาการมาอย่างไร ใครเป็นคนต้นคิด มีใครตรวจสอบวิจัยมาบ้างแล้ว มีตัวแปรใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบแผนการวิจัยทั่ว ๆ ไปเป็นเช่นใด ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นปัญหาแจ่มชัดขึ้น

3. ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย (Formulating research problem) ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องเขียนบรรยายถึงความเป็นมาของปัญหาที่จะวิจัย ทฤษฎีพื้นฐาน ความมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น คำนิยามศัพท์เฉพาะ วิธีดำเนินการ กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4. สร้างสมมติฐาน (Formulating research hypothesis) การสร้างสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาที่จะทำการวิจัยว่า ควรจะเป็นไปในลักษณะใด โดยอาศัยหลักของเหตุผลซึ่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือเอกสารงานวิจัยที่ค้นคว้ามาอนุมาน (Deductive) ว่าปัญหานั้นควรจะตอบได้เช่นไร คำตอบที่ได้จากการเดาหรือคาดคะเนนี้เรียกว่า สมมติฐาน ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาด้วยว่าปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยมีความสอดคล้องกัน และสมเหตุสมผลพอที่จะตรวจสอบได้หรือไม่ด้วย

5. พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล (Source of data) คือผู้วิจัยจะต้องระลึกอยู่เสมอว่ากำลังทำวิจัยเรื่องอะไร ข้อมูลที่จะทำการวิจัยคืออะไร อยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร จะได้มาอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น

6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย (Formulating research instrument) คือการเตรียมอุปกรณ์ในการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะทำการวิจัย โดยพิจารณาจากรูปแบบของการวิจัยและความต้องการประเภทของข้อมูลเป็นสำคัญ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้กำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยได้มากที่สุด งานในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือว่ามีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้หรือไม่ ซึ่งเราเรียกลักษณะการทำงานอย่างนี้ว่า Pilot study คือทดลองใช้กับกลุ่มย่อย ๆ เพื่อหาข้อบกพร่องและฝึกการแก้ปัญหาร และเป็นการประเมินงานวิจัยเบื้องต้นว่าจะมีคุณค่า คุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่าย กำลังกายและกำลังสมองที่จะทำต่อไปหรือไม่

7. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting data) คือการนำเอาเครื่องมือไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ในการวิจัย ถ้าเป็นการวิจัยแบบทดลองก็เริ่มลงมือทดลองนั่นเอง

8. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (Scrutinizing data and Analysis of data) เป็นการเลือกสรรข้อมูล จัดประเภทข้อมูลหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อให้สะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ในอันที่จะนำไปตรวจสอบสมมติฐานตลอดจนพิจารณาเลือกใช้สถิติที่จะวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็คิดหาวิธีการนำเสนอค่าสถิติที่ได้ว่าควรจัดเสนอแบบใดจึงจะเหมาะสม และมีความหมายมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการเขียนรายงานการวิจัย

9. ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป (Interpretation of data) ในทางปฏิบัติมีวิธีตีความหรือให้ความหมายข้อมูลอยู่ 2 วิธี ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้มีผู้นิยมใช้พอ ๆ กัน คือวิธีหนึ่งจะอธิบายเฉพาะผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเท่านั้น ไม่นำข้อคิดเห็นส่วนตัวหรือทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบข้อสรุป กล่าวคือให้ตัวเลขหรือผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นเป็นสิ่งแสดงข้อเท็จจริง ผู้อ่านจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง ส่วนอีกวิธีหนึ่งจะอธิบายผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสอดแทรกความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่อ้างอิงมาจากทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบเข้ากับผลของการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

10. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์ (Research report and publishing) เป็นการรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และรัดกุม แล้วตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจัดพิมพ์ต่อไป

ลำดับขั้นของการวิจัยทั้ง 10 ขั้นนี้ ผู้วิจัยจะต้องวางแผนงานให้รอบคอบ โดยกำหนดเวลาของการทำงานแต่ละขั้นให้ชัดเจน แล้วพยายามทำให้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละขั้น ถ้างานขั้นใดกระทำควบคู่กันไปได้ก็ทำควบคู่กันไป งานขั้นใดจะต้องทำก่อนหรือหลังก็ต้องทำตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้เพื่อให้งานวิจัยเสร็จตามกำหนดเวลาที่ต้องการ




เอกสารชุดนี้นำมาจาก
เอกสารประกอบคำสอนเรื่อง "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย" โดย รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์

จุดมุ่งหมายทั่วไปและธรรมชาติของการวิจัย

จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย

ได้กล่าวแล้วว่า การวิจัยเป็นกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ความจริงตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในการค้นคว้าหาความรู้ความจริงของนักวิจัยนั้นก็เพื่อจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้

1. เพื่อใช้ในการทำนาย ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้พยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มอย่างไร ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า เช่น การวิจัยเรื่องการสำรวจราคาสินค้าสามารถนำผลมาทำนายได้ว่า แนวโน้มของราคาสินค้าในอนาคตจะเป็นอย่างไร และยังสามารถทำนายสภาพเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้อีกด้วย

2. เพื่อใช้ในการอธิบาย จุดมุ่งหมายของการวิจัยข้อนี้ก็เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้อธิบายปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่ทราบสาเหตุว่า สิ่งใดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งใดเป็นผลที่ทำให้เกิดสาเหตุนั้น ๆ เช่น การวิจัยหาสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ ผลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถนำมาอธิบายได้ว่า มีอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ

3. เพื่อใช้ในการบรรยาย เป็นการมุ่งนำผลที่ได้จากการวิจัยไปใช้บรรยายสภาพและลักษณะของปัญหาว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีสภาพและลักษณะอย่างไร เช่น การวิจัยเพื่อการสำรวจความต้องการของนิสิตที่มีต่อการจัดบริการของมหาวิทยาลัย การวิจัยในลักษณะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยมาบรรยายสภาพและลักษณะความต้องการของนิสิต ซึ่งการนำผลที่ได้จากการวิจัยมาบรรยายจะทำได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากกว่าการบรรยายสภาพและลักษณะของปัญหาที่เกิดจากความคิดเห็นหรือการวิเคราะห์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

4. เพื่อใช้ในการควบคุม จุดมุ่งหมายการวิจัยประการนี้ก็เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปวางแผนหรือกำหนดวิธีการในการควบคุมสิ่งต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การวิจัยหาสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ำ เมื่อพบสาเหตุก็สามารถหาทางควบคุมหรือป้องกันได้

5. เพื่อใช้ในการพัฒนา ผลการวิจัยอาจนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาได้ เช่น การพัฒนาบุคคล พัฒนาระบบการทำงาน พัฒนาอาคารสถานที่ ฯลฯ ดังผลการวิจัยที่พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมโดยวิธีบรรยายมากกว่าการทดลอง ดังนั้นอาจารย์และผู้บริหารของโรงเรียนก็ควรที่จะได้หาทางปรับปรุงวิธีการสอนให้ถูกต้องและสอดคล้องกับธรรมชาติของวิชามากขึ้น

ถ้าจะกล่าวถึงจุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยอย่างกว้าง ๆ แล้วอาจกล่าวได้ว่า ในการทำการวิจัยใด ๆ ก็ตาม ผู้ทำการวิจัยจะมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการนี้คือ

1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็น อยากทราบเหตุผลและปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบ สิ่งใดที่พอรู้อยู่บ้างก็ทำให้รู้และเข้าใจดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง

2. เพื่อนำผลไปประยุกต์หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาที่จะต้องค้นคว้าหาความจริงเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวิจัยทั้ง 2 ประการนี้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมายประการแรกมุ่งวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ทำให้ค้นพบกฎหรือทฤษฎี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยในข้อ 2

ธรรมชาติของการวิจัย

เนื่องจากการวิจัยยึดถือและปฏิบัติตามลำดับขั้นของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้การวิจัยมีลักษณะและธรรมชาติดังนี้

1. การวิจัยมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโดยตรงหรือเป็นการตรวจสอบสมมติฐาน โดยทั่วไปแล้วการวิจัยมักอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ตัวแปรหนึ่งเป็นเหตุและอีกตัวแปรหนึ่งเป็นผล ซึ่งจะชี้ให้ทราบถึงวิธีตรวจสอบได้ ในทางปฏิบัติปัญหาบางอย่างเราไม่สามารถแก้ได้ด้วยการวิจัยหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ปัญหาทางไสยศาสตร์ จึงไม่ถือว่าเป็นงานวิจัย

2. การวิจัยจะต้องมีการวางแผนด้วยความระมัดระวังและมีระบบโดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ในเชิงเหตุผล แต่ถ้าเป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ไม่เป็นระบบ เช่น การลองผิดลองถูกหรือการเดาสุ่ม โอกาสที่จะได้ผลการวิจัยที่ถูกต้องย่อมมีน้อย จึงไม่ถือว่ากิจกรรมเช่นนั้นเป็นงานวิจัย

3. การวิจัยจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ สำหรับจุดมุ่งหมายที่กำหนดขึ้นใหม่ หรืออาจใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ใหม่แตกต่างไปจากจุดประสงค์เดิมของแหล่งข้อมูล

4. การวิจัยมุ่งที่จะหาข้อเท็จจริงเพื่อพัฒนาทฤษฎี กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการทำนายหรือสรุปครอบคลุมไปยังเรื่องอื่น ๆ

5. การวิจัยต้องอาศัยผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถในปัญหาที่จะทำการวิจัย ถ้าผู้วิจัยยังไม่เชี่ยวชาญพอก็ต้องค้นคว้าอย่างละเอียดถี่ถ้วน นอกจากนี้นักวิจัยจะต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระเบียบวิธีในการวิจัย ตลอดจนเข้าใจวิธีการวิเคราะห์ปัญหานั้นด้วย

6. การวิจัยที่ดีจะต้องมีเครื่องมือและวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เนื่องจากนักวิจัยใช้ข้อมูลในการทดสอบสมมติฐานต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัยจะต้องมีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ (Research tools) ให้ถูกต้อง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม เป็นต้น

7. การวิจัยจะต้องเป็นกระบวนการที่ใช้เหตุผลโดยตั้งอยู่บนรากฐานของตรรกศาสตร์ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการสรุปผลต้องปราศจากอคติ คือเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรให้ความรู้สึกหรือความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามามีอิทธิพลต่อการสรุปผลการวิจัย เพื่อให้ผลที่ได้ถูกต้องตามความเป็นจริง

8. การวิจัยต้องอาศัยความอดทนและความพยายามของผู้วิจัย โดยเฉพาะในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการติดตามผล

9. การวิจัยต้องอาศัยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของผู้วิจัย โดยเฉพาะการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสังคม จิตวิทยา หรือการศึกษา เช่น การวิจัยเพื่อปฏิรูปการเรียนการสอน หรือการวิจัยที่ขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณี ผู้วิจัยจะต้องมีความก้าที่จะเสนอผลการวิจัยนั้น

10. การวิจัยจะต้องมีการบันทึก และรายงานผลอย่างละเอียดและระมัดระวัง ต้องนิยามคำศัพท์และคำสำคัญต่าง ๆ ให้ชัดเจน ระบุขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ฯลฯ ตลอดจนรายงานผลด้วยความซื่อสัตย์ และการเสนอรายงานผลการวิจัยจะต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ดังนั้นจึงมีการเสนอตัวเลขและรายละเอียดที่สำคัญในตาราง

จาก เอกสารชุดนี้นำมาจาก เอกสารประกอบคำสอนเรื่อง "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย" โดย รองศาสตราจารย์นิภา ศรีไพโรจน์
http://www.watpon.com/Elearning/res6.htm

วิจัยคืออะไร

วิจัยคืออะไร

มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลายดังนี้

พจน์ สะเพียรชัย กล่าวว่า "การวิจัยคือวิธีแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผนเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้"

อนันต์ ศรีโสภา กล่าวว่า "การวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้คงที่"

เบส (Best) ให้ความหมายไว้ว่า "การวิจัยเป็นแบบแผนหรือกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นปรนัย มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีการจดบันทึกรายงาน และสรุปผลเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีขึ้น เพื่อนำไปอธิบาย ทำนาย หรือควบคุมปรากฎการณ์ต่าง ๆ"

เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger) ให้ความหมายว่า "เป็นการใช้ข้อมูลในการตรวจสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ธรรมชาติ โดยมีการควบคุมอย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ

ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ค.ศ.1961 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แยกความหมายของ RESEARCH ไว้ดังนี้
R - Recruitment and Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E - Education and Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย
S - Sciences and Stimulation เป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์เพื่อค้นคว้าหาความจริงและผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นให้เกิดความริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะวิจัยต่อไป
E - Evaluation and Environment ผู้วิจัยจะต้องรู้จักการประเมินผลดูว่างานวิจัยที่ทำอยู่มีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย
A - Aim and Attitude มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีเจตคติที่ดีต่อผลของการวิจัย
R - Result ผลของการวิจัยที่ได้มาจะเป็นทางบวกหรือลบก็ตาม จะต้องยอมรับผลของการวิจัยนั้น เพราะเป็นผลที่ได้มาจากการค้นคว้าอย่างระบบและเชื่อถือได้
C - Curiosity ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
H - Horizon เมื่อผลการวิจัยปรากฏขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ซึ่งก็คือผลของการวิจัยจะต้องก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคม

โดยสรุปแล้ว การวิจัย คือ กระบวนการที่เป็นระบบน่าเชื่อถือ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่สนใจ


วิจัยและสถิติ

ในการวิจัยนั้น เมื่อผู้วิจัยได้ค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลมาแล้ว จำเป็นที่จะต้องนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ และแปลความหมายจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ ซึ่งตรงนี้เองที่ "สถิติ" จะเข้ามามีบทบาทในการวิจัย สถิติจะเข้ามาช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การแจกแจงความถี่ การหาร้อยละ เป็นต้น ตลอดจนถึงช่วยให้ทราบเกี่ยวกับคุณลักษณะต่าง ๆ ของข้อมูล เช่น การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล เป็นต้น
ถ้าหากข้อมูลมีจำนวนมาก ก็อาจจะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์แปลผลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นสถิติ จึงมีความเกี่ยวข้องกับการวิจัย จนแทบจะแยกกันไม่ออก นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการนำเสนอในรายงานการวิจัย เช่น การจัดทำตาราง การสร้างเส้นภาพ แผนภูมิต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้สถิติเข้ามาช่วย

จะเห็นได้ว่า วิจัยและสถิติ ย่อมจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดังนั้นในการทำวิจัยผู้ทำวิจัยจึงควรมีความรู้เรื่องสถิติด้วย ถ้าผู้วิจัยไม่มีความรู้เรื่องสถิติ ก็อาจจะหาผู้ร่วมวิจัยที่มีความรู้เรื่องสถิติเข้ามาร่วมวิจัยด้วยก็ได้

บทความโดย
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์
http://watpon.com/www/mod/resource/view.php?id=3

ตารางเงินเดือนใหม่ ตามร่างพ.ร.ฎ.ปรับเงินเดือน 5%

ตารางเงินเดือนใหม่ ตามร่างพ.ร.ฎ.ปรับเงินเดือน 5%


ผ่านร่างพ.ร.ฎ.ปรับเงินเดือนแม่พิมพ์เพิ่ม5% ครูผช.ได้ขั้นต่ำ 8พัน-คศ.1สูงสุด6.7หมื่น "ชินวรณ์"ยืนยันโครงสร้างบัญชีใหม่เข้าครม.

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยผลการประชุม ก.ค.ศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า จากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณการปรับปรุงค่าตอบแทนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดึงดูดและรักษาคนเก่งคนดีไว้ในราชการ และเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของข้าราชการ สำหรับปีงบฯ 2554 งบกลางรายการค่าใช้จ่ายการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ 39,792 ล้านบาท และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้เชิญเลขานุการคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการทุกประเภท และหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องกับการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนบุคลากรภาครัฐ มาหารือกันแล้ว มีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท จัดทำข้อเสนอการปรับบัญชีเงินเดือนในอัตราร้อยละ 5 เท่ากัน และให้ส่งร่างกฎหมายการปรับชีเงินเดือนฯ ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม นั้น ที่ประชุม ก.ค.ศ.มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎี (พ.ร.ฎ.) การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... พร้อมด้วยบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการครูฯ ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ท้ายร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ซึ่งได้ปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากอัตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อความเหมาะสม และเพื่อเป็นไปตามนโยบายของนายกฯ จากนี้จะนำเสนอ กงช.

นายชินวรณ์กล่าวว่า สำหรับตารางการปรับอัตราเงินเดือนฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จะส่งผลให้ข้าราชการครูฯ ได้รับเงินเดือนสูงขึ้น ดังนี้ อันดับครูผู้ช่วย จากเดิมแท่งเงินเดือนเริ่มต้นจาก 7,940-16,840 บาท ปรับเพิ่มเป็น 8,340-17,690 บาท อันดับ คศ.1 จากเดิม 7,940-27,500 บาท เป็น 8,340-28,880 บาท อันดับ คศ.2 จากเดิม 12,530-33,540 บาท เป็น 13,160-35,220 บาท อันดับ คศ.3 จากเดิม 12,530-47,450 บาท เป็น 13,160-49,830 บาท อันดับ คศ.4 จากเดิม 23,230-50,550 บาท เป็น 24,400-53,080 บาท และอันดับ คศ.5 จากเดิม 28,550-64,340 บาท เป็น 29,980-67,560 บาท

(รายละเอียดดูในตาราง)



นายชินวรณ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้ซักถามกรณีที่ ศธ.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูฯ เพื่อรับทราบความคืบหน้า ซึ่งตนชี้แจงว่า ศธ.ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ขณะนี้ทราบว่าเลขานุการของ กงช.ได้พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งหนังสือเรื่องการยื่นร่าง พ.ร.บ.เงินเดือนฯ มาให้ ศธ.ให้ความเห็นนั้น ตนได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.ให้ความเห็นกลับไปว่า ศธ.เห็นชอบ และยืนยันตามโครงสร้างบัญชีเงินเดือนที่ได้เสนอไป เพื่อให้การปรับโครงการสร้างเงินเดือนของข้าราชการครูฯ ได้เท่าเทียมกับข้าราชการในกลุ่มอื่นๆ



ที่มา

มติชนออนไลน์ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การประเมินผลการเรียนรู้โดยการสังเกตการณ์

การประเมินผลการเรียนรู้โดยการสังเกตการณ์
โดย รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด

การเรียนรู้ของมนุษย์อาศัยการสังเกตการณ์ (Observation) เป็นอันมาก มนุษย์ใช้การสังเกตการณ์ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างมากมาย การสังเกตการณ์ช่วยให้ได้พบความจริงได้ความรู้ เกิดความเข้าใจเกิดความกระจ่างแจ้ง ช่วยให้สามารถพัฒนาความรู้วิชาการต่าง ๆ ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสังเกต เรียนรู้ และใช้ประโยชน์จากการสังเกตการณ์ ทั้งในขณะดำเนินชีวิตครอบครัวในขณะปฏิบัติหน้าที่การงาน

การสังเกตการณ์เป็นเทคนิคหนึ่งของการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน สามารถทำได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ อาจไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อาจเป็นแบบมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้างก็ได้ จึงจัดว่า เป็นการประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการ (Informal) การสังเกตการณ์ช่วยให้ทราบผลของการเรียนการสอนในทันที และมีจุดเด่นที่สำคัญ คือช่วยให้ผู้สอนได้แก้ไขสถานการณ์ ปรับปรุงกิจกรรม วิธีสอนได้อย่างทันการช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น เป็นการเสริมสานการวัดผลกับการเรียนการสอนตามแนวคิดที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ผู้สอนจะสามารถทราบผลการเรียนการสอนโดยสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ การปฏิบัติ (วิธีการ) และผลงาน เป็นสำคัญ ดังจะกล่าวแต่ละด้านตามลำดับ

การสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน อยู่ตลอดเวลา โดยสังเกตการณ์ฟังคำบรรยาย อธิบาย สาธิต การทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ ความร่วมมือกับคนอื่น ๆ นิสัย ค่านิยม ฯลฯ ในการสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น เมื่อผู้สอนสอนนักเรียนเป็นชั้น (สอนทั้งห้อง) อย่างต่อเนื่องก็ต้องสังเกตให้ครบคน ไม่ได้สังเกตเฉพาะคนใดคนหนึ่งหรือเพียงสองสามคน ขณะที่พูดก็ใช้สายตามองไปยังผู้เรียน ถ้าพบพฤติกรรมต่อไปนี้บ่งชี้ถึงว่าการสอนครั้งนั้นไม่ได้ผล ผู้เรียนนั่งหลับ คุยกัน เหม่อลอยหรือคิดในเรื่องอื่น การทำกิจกรรมอื่น ฯลฯ

การที่ผู้เรียนนั่งหลับ แสดงว่าเขาไม่มีความสนใจในการเรียน แต่จะพักผ่อน ไม่รับรู้การเรียนการสอนใด ๆ การสอนครั้งนั้นไม่บังเกิดผลสำหรับนักเรียนคนนั้น ถ้ามีหลายคนชี้ถึงว่าการสอนขาดคุณภาพมาก ควรใช้วิธีป้องกัน เช่น สอนโดยใช้เทคนิคการสอนหลาย ๆ วิธี ใช้อารมณ์ขันช่วย ใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ที่ดึงดูดความสนใจ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้เข้าใจ แจ่มแจ้ง ผู้สอนควรใช้สายตามองให้ผู้ที่จะหลับรู้สึกว่าอยู่ในสายตาของผู้สอน ใช้คำถามเพื่อให้เขาได้คิดตอบ

การคุยกัน จะต้องเพ่งความคิดไปยังเรื่องที่พูดคุย จึงสามารถรู้เรื่องกันได้ เมื่อเพ่งความคิดไปยังเรื่องที่คุยกันก็จะไม่รับรู้เรื่องที่ผู้สอนกำลังสอน ซึ่งนอกจากชี้ถึงว่าการสอนไม่น่าได้ผลแล้ว ถ้าคุยกันด้วยเสียงดังจะรบกวนสมาธิของคนอื่น ถ้าคุยกันนานผู้สอนจะสอนลำบาก ถ้าสังเกตว่ามีการคุยกันหลาย ๆ คู่ ผู้สอนต้องรีบแก้ไขโดยด่วน อย่างไรก็ตามถ้าคุยกันเบา ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ และเป็นเรื่องที่อยู่ในเนื้อหาสาระที่กำลังเรียนหรือเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ควรป้องกันไม่ให้มีการคุยกันนอกเรื่องโดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่นเดียวกับกรณีป้องกันผู้เรียนนั่งหลับ

การเหม่อลอยหรือคิดในเรื่องอื่น แสดงว่าผู้เรียนสนใจในเรื่องอื่นมากกว่าหรือให้ความสำคัญแก่เรื่องอื่นมากกว่า ซึ่งชี้ถึงว่าการเรียนการสอนในขณะนั้นไม่บรรลุผล ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเป็นเนื้อหาและ/หรือวิธีการสอนที่น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ ผู้เรียนรู้เรื่องนั้นมาแล้ว และอาจมีเรื่องที่สนใจมากกว่าหรือจำเป็นต่อการคิดหาคำตอบ คิดแก้ปัญหา ฯลฯ มากกว่า ถ้าพบพฤติกรรม ดังกล่าว ผู้สอนควรใช้วิธีป้องกันเช่นเดียวกับกรณีป้องกันผู้เรียนนั่งหลับ

การทำกิจกรรมอื่นในเวลาเรียน เป็นการใช้เวลาไม่เหมาะสม แสดงว่านอกจากผู้เรียนไม่สนใจในการเรียนเรื่องนั้นแล้ว ยังเห็นว่าควรใช้เวลานั้นทำกิจกรรมอื่นที่สำคัญและจำเป็นมากกว่านับเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ไม่เกิดผลดีต่อตนเองและเพื่อนร่วมชั้น เวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากเรื่องที่เรียน ควรทำในเวลาว่างเช่น เลิกเรียน ก่อนเรียน หรือทำกิจกรรมนั้นในวันอื่นหรือในเวลาที่กำหนดไว้สำหรับกิจกรรมนั้น ๆ เป็นต้น ควรหาวิธีป้องกันเช่นเดียวกับกรณีป้องกันผู้เรียนนั่งหลับ และสร้างบทเรียนให้น่าสนใจและสอดคล้องกับธรรมชาติและแบบการเรียนรู้ (Learning Styles) ของผู้เรียน

การสังเกตการปฏิบัติ ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ อย่างมีคุณภาพย่อมมีเทคนิคหรือวิธีการปฏิบัติโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามต้องการ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกวิธีหรือไม่เหมาะสมตามลักษณะเฉพาะของกิจกรรมนั้นก็จะทำให้ได้ผลที่ด้อยกว่า ขาดความสมบูรณ์ไป การประเมินผลโดยการสังเกตการปฏิบัติเฉพาะอย่างว่าใช้วิธีใดจึงจะเหมาะสม ถูกต้อง และได้ผลดีมากกว่า จะช่วยให้สามารถรีบแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องหรือความผิดพลาดต่าง ๆ แต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะปล่อยให้กระทำนั้น ๆ ติดเป็นนิสัยที่ยากแก่การแก้ไข ทั้งนี้ก่อนการปฏิบัติจะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างแจ่มชัดถึงวิธีการที่ถูกต้อง โดยอาจใช้การสาธิตให้ดู แล้วให้ปฏิบัติตาม มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) จนสังเกตพบว่าผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม ถ้ามีทักษะด้วยก็ยิ่งดี ดังจะเห็นได้ชัดจากนักกีฬาทุกประเภท นักดนตรีทุกประเภท ฯลฯ ที่มีความสามารถสูง นักวัดผลบางคนให้ความสำคัญกับวิธีการมาก เพราะเชื่อว่าการใช้วิธีการที่ดี ที่เหมาะสม ย่อมนำไปสู่ผลที่ต้องการ

ในด้านวิธีการซึ่งควรส่งเสริมสนับสนุนก็คือ การริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน ผู้เรียนที่คิดค้นวิธีการใหม่ซึ่งสามารถให้ผลที่ดีเท่าหรือดีกว่าวิธีการเดิมได้ หรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ ควรได้รับการยกย่อง ชมเชย จากทั้งครูผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน และชุมชน

การสังเกตผลงาน ผลงานหรือผลผลิต (Product) เป็นเป้าหมายปลายทางที่สำคัญของการเรียนการสอนเท่า ๆ กับวิธีการหรือสำคัญยิ่งกว่า บางคนเห็นว่าจะใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เป็นวิธีการทางบวก วิธีการที่สร้างสรรค์ขอให้ได้ผลที่ปรารถนา ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่สั่งสอน ที่นิยมใช้กันทั่วไปการสังเกตผลงานเป็นการพิจารณา ประเมินผลงานที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยนำผลงานไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ซึ่งอาจพิจารณาภาพรวมให้คะแนนหรือจัดอันดับความสำคัญจากภาพรวมทั้งหมด หรือพิจารณาในมิติหรือด้านต่าง ๆ เช่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความประณีต ความคงทน ความกลมกลืน ความเป็นเอกภาพ ความสมดุลย์ วิสัยทัศน์กว้างไกล ความเที่ยงตรง ฯลฯ

ผู้สอนควรตระหนักว่า ถ้าผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนอย่างจริงจัง และต่อเนื่องก็ย่อมเอื้อต่อการบรรลุผลในการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนมีมากมายหลายกิจกรรม ที่สำคัญได้แก่

1. การพูด อ่าน เขียน ท่องจำในเรื่องที่เรียน
2. การซักถาม การตอบคำถาม
3. การอภิปราย ออกความเห็น
4. การทำแบบฝึกหัด
5. การผลิตผลงานต่าง ๆ เช่น วาดภาพ ปั้น แกะสลัก ประดิษฐ์ แต่งโคลง กลอน เขียนบทความ ฯลฯ
6. การฝึกปฏิบัติ เช่น นั่งสมาธิ ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา เล่นดนตรี ฯลฯ
ฯลฯ

ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนที่กล่าวมา และใช้การสังเกตการณ์ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครู

วิธีทำหนังสือ Electronic เปิดหน้าได้โดยใช้ Desktop Author

วิธีทำหนังสือ Electronic เปิดหน้าได้โดยใช้ Desktop Author

เขียนโดย ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา
วิธีติดตั้งโปรแกรม


1. เมื่อได้ double click run ตัว Install ขึ้นมาแล้วจะได้ดังรูป





2. กด Next ไปเรื่อย ๆ






3. เลือก Directory ที่จะ install








4. รอจนเสร็จ






5. หลังจาก Setup เสร็จ เรียกโปรแกรมขึ้นมาจะพบกับหน้าตาโปรแกรม ดังรูป






6. รายละเอียดของตัวโปรแกรม






1. New ใช้สำหรับการสร้างงานใหม่



2. Open ใช้สำหรับเปิดงานที่มีอยู่แล้วเพื่อดูหรือแก้ไข



3. Save ใช้สำหรับบันทึกไฟล์งานที่ได้ทำขึ้น



4. Page ใช้สำหรับชมตัวอย่าง (Preview) งานที่ได้ทำขึ้นมา



5. Package (EXE) ใช้บีบอัดไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาให้รวมเป็นไฟล์เดียวโดยมีนามสกุลเป็น

.EXE



6. Package (DNL) ใช้บีบอัดไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาให้รวมเป็นไฟล์เดียวโดยมีนามสกุลเป็น

.DNL สำหรับการทำเวบไซด์



7. Package (DRM) ใช้ป้องกันไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาเพื่อนำเสนอในเวบไซด์ไฟล์เดียวโดยมีนามสกุลเป็น

.DRM



8. Package (SCR) ใช้ในการทำ Screen Saver



9. Publish ใช้สำหรับใส่ไฟล์ DNL ลงในเวบไซด์



10. Upload ใช้สำหรับ Upload ไฟล์ที่ได้ทำขึ้นเวบไซด์



11. Multimedia ใช้ในการแทรกไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลง หรือ

มิวสิควีดีโอ หรือ ภาพยนตร์



12. Eazyform ใช้ในการแทรกคำถาม คำตอบ และเพิ่ม Object ต่างๆลงในงาน



13. Refresh ใช้สำหรับ Refresh งานที่ทำ



14. Properties ใช้ตั้งค่าต่างๆของ งานที่ทำ



15. Template ใช้เลือกรูปแบบต่างๆ ให้กับชิ้นงาน



16. Buttons ใช้เลือกปุ่มต่างๆที่จะให้มีในงานของเรา




7. หลังจากรู้จักรูปร่างหน้าตาของโปรแกรมกันแล้ว ต่อไปเราจะมาลองทำหนังสือ

Electronic กัน เริ่มด้วยเปิดโปรแกรม Desktop Author ขึ้นมา เลือก New






8. จะขึ้นหน้าต่าง Book Properties ขึ้นมาให้ Set ค่าต่างๆของหนังสือตามที่ต้องการ

ตอนนี้ผมเอาแบบ default (แบบที่โปรแกรมมีมาให้ตั้งแต่ต้น) ก่อนนะครับ



แต่ปรับ width เป็น 580 กับ Height เป็น 365 เพราะจะให้พอดีกับ Template

ที่ผมจะเลือกใช้ครับ






1. Width : เลือกความกว้างของหนังสือ



2. Height : เลือกความสูงของหนังสือ



3. Border Colour : เลือกสีของขอบหนังสือ



No Border : เลือกว่าจะให้หนังสือมีขอบหรือไม่มี ถ้าให้หนังสือมีขอบให้เอาเครื่องหมายถูกออก



4. Paper Colour : เลือกสีของหน้ากระดาษ



5. Mask Colour : เลือกสีที่ใช้สำหรับการทำรูปให้โปร่งใส

6. Background Colour : เลือกสีพื้นหลัง



7. Character Set : เลือกภาษาที่ใช้



8. Text default left : เลือกขนาดความห่างของกล่องข้อความกับขอบกระดาษทางซ้ายมือ



9. Text default top : เลือกขนาดความห่างของกล่องข้อความกับขอบกระดาษด้านบน



10. Text default width : เลือกขนาดความกว้างของกล่องข้อความ



11. Text default height : เลือกขนาดความสูงของกล่องข้อความ



12. Start with tooltip auto update : เปิดหนังสือพร้อมอับเดทเคล็ดลับเครื่องมือ



13. Auto Start : เปิดหนังสือโดยให้หนังสือเปลี่ยนหน้าอัตโนมัติ

14. Start with background windows : เปิดหนังสือพร้อมฉากหลัง



15. Disable Print Function : สามารถ พริ๊นท์ ฟังก์ชั่นได้



16. Page Turn : ปรับค่าการเปลี่ยนหน้ากระดาษ



17. Fly Speed : เลือกความเร็วในการเปลี่ยนหน้ากระดาษ



18. Start Status : เลือกว่าจะให้มีเมนูบนหนังสือหรือว่าไม่มี



19. DWB Go To : เลือกสไตล์ในการใช้ ฟังก์ชั่น Go To



20. Default Unicode Value : เลือกค่ายูนิโค้ดพื้นฐาน



21. With/Without Password : เลือกว่าจะให้หนังสือมี Password หรือไม่



22. Book Password : .ใส่ Password หนังสือ



23. Book Backup File : เลือกว่าจะให้มีไฟล์ Backup หนังสือกี่ไฟล์



24. Disable Send Mail Function : สามารส่ง Email ได้



25. Disable SaveAs Function : สามารถเซฟได้



26. Book Transparency : เซตค่าต่างๆในการทำปกหนังสือ



27. Book DRM : เซตค่าการป้องกันต่างๆ



28. Book Email : เซตค่า Email สำหรับหนังสือ



29. Book Multimedia : เซตค่า มัลติมีเดียสำหรับหนังสือ



9. หลังจาก New เสร็จแล้วเลือกที่ปุ่ม Template เพื่อ Add Template ในที่นี้ผมเลือก

Photo Album General นะครับจะได้ดังรูป




10. เลือก Cover






11. หลังจาก Add แล้วจะได้ดังรูป






12. ตอนนี้เราก็มีปกของหนังสือกันแล้ว ก็ทำการ Add หน้ากระดาษในหนังสือกัน

โดยกดที่ Page Tool “Add Page” ดังรูป






13. หลังจากนั้น ผมได้ทำการ Add Template แบบเดิม (Photo Album General)

แต่คราวนี้เลือกเป็น Body



14. แล้วเราสามารถทำการใส่รูปได้โดย เลือกที่ เมนู Insert -> Image หรือใส่ข้อความ

เลือกที่ เมนู Insert -> Text โดยเราสามารถปรับแต่งรูปภาพได้ดังรูป






โดยการใส่ Text นั้นบางคนอาจจะงงว่าทำไมใส่ภาษาไทยแล้วกลายเป็นภาษาต่างด้าวไปดังรูป






ให้เปลี่ยน Encoding เป็น Thai ดังรูป






แล้วก็เลือก Font






15. เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อย ก็จะได้ออกมา ดังรูป






16. เราสามารถใส่เสียงเข้าไปในหนังสือได้อีกด้วย โดยเลือกที่ กล่องเครื่องมือ

Insert หรือเลือกแถบเครื่องมือด้านบน ที่ Multimedia หรือเลือกที่ เมนู Insert

> Multimedia จะปรากฏ Dialog Box และ กรอบมัลติมีเดียขึ้นมาดังภาพ






1. Font : เลือก Font



2. Text Colour : เลือกสีตัวอักษร



3. File : ช่องบอกชื่อไฟล์ที่เราใส่ลงในหน้าหนังสือ



4. Embed file inside book : เลือกใส่ไฟล์ลงในหนังสือเลือกที่ Select Multimedia

เพื่อใส่ไฟล์ เพลง หรือ Video หรือไฟล์แฟลชที่เราต้องการจะใส่ลงไป ( รองรับไฟล์

.swf / .wma / .wav / .mpg / .mp3 / .mid / .avi / .mov / .qt)



5. Start play automatically : เลือกให้เพลงเล่นแบบ อัตโนมัติ



6. Loop : เลือกให้เล่นเพลงวนต่อเนื่อง



7. Add/Change image : ใส่รูปภาพ



8. Remove image : เอารูปภาพออก



9. Note Text : กล่องใส่ข้อความ



17. หลังจากเลือกเสร็จแล้วก็กดโอเคเลยครับจะได้ดังภาพ






18. จะเห็น กรอบมัลติมีเดียอยู่ถ้าเราใส่ไฟล์เพลง ให้เราทำการย่อแล้วนำไปซ่อนไว้ในรูปหรือที่ต่างๆ

ของหนังสือก็ได้ แต่หากเราใส่ไฟล์ Video ให้ทำการขยายกรอบ ตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดภาพ

Video ขึ้นในกรอบนั้น



19. คราวนี้เราก็มาทำปุ่มเมนูต่างๆ บนหนังสือกัน โดยการเลือกที่ แถบเครื่องมือ

Buttons ซึ่งมีให้เลือกหลายฟังก์ชั่นมาก หรือจะทำให้ Text เป็น Button ก็ได้โดย

การซึ่งผมจะแสดงวิธีนี้ให้ดู จริงตัว Template ได้จัดให้มีปุ่ม 4 ปุ่มอยู่ด้านล่างแล้วอย่างที่เห็น

แต่เผื่อคนที่ต้องการจะทำเองหรือทำเพิ่ม



20. เริ่มโดยเลือก Text แล้วกด Double Click ขึ้นมาจะได้ดังรูป






21. ลาก Text ที่ต้องการจะทำ Link กดที่ Link แล้วเลือก Close Window กด

OK






***หมายเหตุถ้าเพิ่มปุ่ม ปุ่มที่เราใส่เข้าไปจะไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าเราจะใส่ค่าให้กับมันโดยการ

คลิกที่ตัวรูปภาพปุ่ม แล้วเลือกกล่องเครื่องมือ Change หรือ คลิกขวาที่รูปภาพปุ่มแล้ว

เลือก Change Link ก็จะขึ้นหน้าจอเดียวกันนี้มา



22. จะมีขีดค่าขึ้นมา ให้เรากดเอาออกดังรูป แล้วกด OK






23. ต่อไปก็คือ สารบัญครับ ให้เรา add page เข้าไปอีกหน้าหนึ่ง แล้วกด Move

โดยเลือกที่กล่องเครื่องมือ Page Move หรือ เมนู Control > Move Page

ให้หน้าเปล่านี้ไปเป็นหน้าที่ 2 เพื่อไปเป็นสารบัญ






24. หลังจากนั้นก็มาทำสารบัญกัน ผมขอใช้วิธี Add template แบบเดินนะครับแต่คราวนี้เลือกที่สารบัญ

Content จะได้ดังรูป






25. หลังจากนั้นเราจะมาทำเมนูสารบัญกันนะครับใช้วิธีสร้าง Link จาก Text

แบบที่เคยทำมาแล้วข้างต้นแต่คราวนี้จะเลือก Link ไปที่ Page แทนดังรูป






26. เลือกหน้าที่ต้องการจะให้ Link ไป






27. หลังจากตกแต่งเสร็จแล้ว






28. เราก็จะมาทำปกหลังกันโดยการ Add template แบบเดิมโดยครวานี้เลือกที่ปกหลัง

(Back)



29. พอเราทำหนังสือครบทุก หน้าตามที่ต้องการแล้วก็ Save ครับ Save ไม่งั้นเหนื่อยฟรี />



30. หลังจาก Save เสร็จแล้วเราก็จะทำหนังสือให้ออกมาเปิดไปเปิดมาได้กัน โดยการเลือกที่

แถบเครื่องมือ Package หรือ File > Package EXE ครับ






ก็จะได้หน้าตาออกมาเป็นแบบนี้กันครับ












***หน้านี้ตรงที่เป็นสีดำดำ นั่นก็คือที่ผมได้ใส่เพลงไปน่ะครับ ที่บอกให้ย่อแล้วซ่อนไว้ก็เพราะถ้าไม่ทำแบบนั้น

ก็จะเป็นแบบนี้ครับ (ผมลืมน่ะครับ 55) พอเปิดมาถึง หน้านี้เพลงก็จะเล่นวนไปเรื่อย

พอออกไปจากหน้านี้ก็จะไม่มีเพลง จะมีเพลงเฉพาะหน้าที่ใส่นะครับ






เสร็จเรียบร้อยกับหนังสือ จาก Desktop Author




คัดมาจาก http://elearning.medicine.swu.ac.th/km/?p=146



โปรแกรม DeskTop Author 4.5.70+Crack

โปรแกรม DeskTop Author 4.5.70+Crack

DeskTop Author is an electronic publishing software that allows you to quickly, easily and professionally create and/or sell page turning electronic publications such as eBooks, eCatalogs, eBrochures, ePresentations, photo albums and much more. Create DNL eBooks for Windows and Mac (Intel).

Download

วิธีCrack
ให้copy ไฟล์ dna.exe ที่มีมาให้ในโฟร์เดอร์pastila ไปpastในโฟร์เดอร์ที่คุณติดตั้งโปรแกรมนี้


--------------------------------------------------------------------------------

ดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่เวปนี้ค่ะ
>>> วิธีทำหนังสือ Electronic เปิดหน้าได้โดยใช้ Desktop Author เขียนโดย ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา
http://freedownload4teacher.blogspot.com/2010/07/electronic-desktop-author.html

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Desktop Author โปรแกรมทำ E-Book ที่ดีที่สุดในตอนนี้

โปรแกรม Desktop Author เป็นโปรแกรมสร้างหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ที่มีลักษณะคล้ายกับหนังสือจริง คือ มีหน้าปก สารบัญ ข้อความ รูปภาพ สามารถแทรกภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ภาพยนตร์ ไฟล์ Flash เพิ่มเสียงบรรยาย สร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ผลงานที่ได้มีขนาดไฟล์เล็ก ทำให้สามารถดาวน์โหลดผ่านเว็บ หรือ ส่งผ่านอีเมล์ และสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

คุณสมบัติของ โปรแกรม Desktop Author
ไฟล์มีขนาดเล็ก ช่วยให้ง่ายในการดาวน์โหลด และส่งข้อมูล
มีลักษณะคล้ายกับหนังสือซึ่งเป็นรูปแบบที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย
สามารถสั่งพิมพ์หน้าแต่ละหน้า หรือทั้งหมดของหนังสือได้
ผู้ใช้สามารถส่งต่อได้ง่ายโดยการส่งผ่านอีเมล์ หรือระบบเครือข่าย
สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Note Book

ผลงานเป็นได้ทั้งสื่อ Offline ในรูปแบบ .exe สื่อออนไลน์ .html + .dnl ที่มีขนาดเล็กเหมาะสำหรับการนำเสนอผ่านเว็บไซต์ แต่การเรียกดูจำเป็นต้องติดตั้ง DNL Reader ก่อนจึงจะแสดงผลได้ และ Screen Saver (.scr) สำหรับการรักษาอายุจอภาพคอมพิวเตอร์ด้วยสื่อที่สร้างสรรค์ได้ด้วยตัวเอง

วิธีการใช้งานโปรแกรมนี้สามารถเข้าไปดูรายละเอียดแบบทุกขั้นตอนได้ที่
http://www.horhook.com/wbi/dta/index.html

ดาวน์โหลดโปรแกรมมาทดลองใช้ได้ที่
http://www.desktopauthor.com/

เเนะนำวิธีการเปิดอ่าน e-Book

ก่อนที่จะเปิดไฟล์ e-Book ที่สร้างจากโปรแกรม Desktop Author เพื่อดูผลงานจากหน้าเว็บไซต์นั้นให้ผู้ใช้สำรวจว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้มีโปรเเ กรม DNL Reader เเล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีให้หานำมาลงไว้ในเครื่องของผู้ใช้ก่อนซึ่งสามารถ Download โปรเเกรม DNL Reader

ดาวน์โหลดโปรแกรมอ่าน E-book นี้
http://www.ziddu.com/download/10673885/dnlsetup.exe.html

เป็นโปรแกรมที่คุณครูทุกท่านควรจะมีไว้ทำสื่อนะครับ โดยเฉพาะครูที่ต้องการทำผลงาน

ตัวอย่างผลงาน
http://ebook.com/eBooks/Medical/Good_news_for_the_alphabet_kids/inbrowser (ลงโปรแกรมการอ่านก่อนนะครับ)